Liquidity ratio วัดสภาพคล่องด้วยอัตราส่วนทางการเงิน

สินทรัพย์สภาพคล่อง (Liquid asset) เป็นสินทรัพย์ที่สามารถเปลี่ยนเป็นเงินสดได้เร็วโดยราคาไม่ลดลงมากนัก การวิเคราะห์อัตราส่วนจะช่วยวัดสภาพคล่องของกิจการได้ง่าย การใช้อัตราส่วนวัดสภาพคล่อง (Liquidity Ratio) จะเป็นอัตราส่วนที่แสดงความสัมพันธ์ของเงินสด และสินทรัพย์หมุนเวียนอื่นๆ ของกิจการกับหนี้สินหมุนเวียน มี 2 ชนิดที่นิยมใช้กัน Current Ratio และ Quick Ratio โดยค่าที่ได้จะนำไปเปรียบเทียบกับค่าเฉลี่ยอุตสาหกรรมเดียวกันก่อนเป็นอันดับแรกก่อนจะนำไปเปรียบเทียบระหว่างบริษัท
สินทรัพย์หมุนเวียน: เงินสด,หลักทรัพย์ในความต้องการของตลาด,ลูกหนี้การค้า,สินค้าคงเหลือ
หนี้สินหมุนเวียน: เจ้าหนี้การค้า,ตั๋วเงินจ่ายระยะสั้น,ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย,หนี้สินระยะยาวที่ครบกำหนดชำระในเวลา 1 ปี

อัตราส่วนหมุนเวียน: ความสามารถในการชำระหนี้สินระยะสั้นที่ครบกำหนดชำระ
Current Ratio : Ability to Meet Short – Term Obligations

อัตราส่วนนี้จะแสดงให้ทราบว่ามีความสามารถในการชำระนหี้สินหมุนเวียนมากน้อยเพียงไร

[CP_CALCULATED_FIELDS id=”10″]

อัตราส่วนหมุนเร็ว
Quick or Acid Test Ratio

สำหรับวัดความสามารถในการชำระหนี้สินหมุนเวียนเช่นเดียวกับ Current Ratio โดยไม่ต้องขายสินค้าคงเหลืออยู่ เพราะถือว่าสินค้าคงเหลือเป็นสินทรัพย์หมุนเวียนที่มีสภาพคล่องต่ำที่สุด Quick Ratio จึงวัดสภาพคล่องได้ดีกว่า Curren Ratio

[CP_CALCULATED_FIELDS id=”11″]

เมื่อกล่าวถึง LIQUIDITY RATIO ทำให้ให้นึกถึง LIQUIDITY TRAP กับดักสภาพคล่อง ที่มักจะเอ่ยถึงทุกครั้งที่ประเทศใดประเทศหนึ่งลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยปกติหากมีการลดดอกเบี้ยก็เพื่อต้องการให้เงินหมุนเวียนในระบบ เกิดการจับจ่ายใช้สอย หรือการลงทุน แต่ประชาชนหรือนักลงทุนกลับนำไปเก็บออมไว้แทน เพราะขาดความเชื่อมั่น ทำให้เกิดกับดักสภาพคล่อง และเมื่ออุปสงค์ลดลง แต่ราคาสินค้าไม่ลดลงตาม อาจจะเนื่องจากปัจจัยการผลิต ทำให้ค่าครองชีพเพิ่มขึ้น อาจทำให้เกิดปัญหากับภาวะเงินเฟ้อสูงแต่เศรษฐกิจไม่เติบโต หรือ Stagflation

Scroll to Top