กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นแผนพัฒนาการศึกษาท้องถิ่นสี่ปี,พ.ศ.2560-2564
“กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นแผนพัฒนาการศึกษาท้องถิ่นสี่ปี,พ.ศ.2560-2564
กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น แจก “แผนพัฒนาการศึกษาท้องถิ่นสี่ปี” (พ.ศ.2560-2564)
วิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าประสงค์
วิสัยทัศน์
“ประชาชนในท้องถิ่นได้เรียนรู้ตลอดชีวิต ด้วยพลังประชารัฐ บนพื้นฐานความเป็นไทย ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มีทักษะในศตวรรษที่ 21 ดำรงชีวิตอย่างมีความสุขและยั่งยืน”
พันธกิจ
- จัดการศึกษษทั้งในระบบ นอกระบบ และตามอัธยาศัยให้เด็ก เยาวชน และประชาชนในท้องถิ่นให้เรียนรู้ทุกช่วงวัยอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต
- ส่งเสริมพัฒนาให้เด็ก เยาวชน และประชาชนมีทักษะพื้นฐานที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21
- ขับเคลื่อนพลังประชารัฐให้มีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
- ส่งเสริมศาสนา ศิลปะวัฒนธรรม ประเพณี และภูมิปัญญาท้องถิ่น
- น้อนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปบูรณาการในการจัดการศึกษาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
- พัฒนาคุณภาพการศึกษาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้
เป้าประสงค์
- สถานศึกษามีการบริหารจัดการโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานในการพัฒนาท้องถิ่น (SBMLD)
- สถานศึกษามีปัจจัยที่เอื้อต่อการจัดการศึกษาที่เพียงพอและเหมาะสม
- ระบบข้อมูลสารสนเทศทางการศึกษา ถูกต้อง รวดเร็ว ทันสมัย และเชื่อมโยงในรูปแบบเครือข่าย (NETWORK) อย่างมีประสิทธิภาพ
- องค์กรปกครองส่นท้องถิ่นมีศึกษานิเทศก์ที่เพียงพอและมีคุณภาพ
- องค์กรปกครองส่นท้องถิ่นมีระบบนิเทศการศึกษาที่มีคุณภาพ
- องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีการบริหารจัดการระบบแผนงานและงบประมาณทางการศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพ
- สถานศึกษา มีการบริหารจัดการระบบแผนงานและงบประาณทางการศึกษาอย่างมีประสิทะิภาพ
- องค์กรปกครองส่นท้องถิ่นมีกระบวนการบริหารงานบุคคลที่มีคุณภาพ
- สถานศึกษามีการจัดการเรียนรู้ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีทักษะพื้นฐานที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 (3Rx8C)
- สถานศึกษาส่งเสริมให้ผู้เรียนมีคุณลักษณะและค่านิยมที่พึงประสงค์
- คณะกรรมการการศึกษาท้องถิ่นทุกระดับ (ระดับประเทศ ระดับภาค ระดับจังหวัดและระดับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น) ได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
- กลุ่มเครือข่ายการจัดทำแผนพัฒนาการศึกษาท้องถิ่นได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
- กลุ่มเครือข่ายครูผู้ดูแลเด็กได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
- กลุ่มเครือข่ายการนิเทศการศึกษาท้องถิ่นได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
- คณะกรรมการสถานศึกษาได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
- องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเปิดโอกาสให้ภาครัฐและเอกชนเข้ามามีส่นร่วมในการจัดการศึกษา
- ผู้บริหารท้องถิ่นมีความรู้ความเข้าใจในการเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงการจัดการศึกษาท้องถิ่น
- สมาชิกสภาท้องถิ่นและผู้เกี่ยวข้องมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องการจัดการศึกษาท้องถิ่น
- สถานศึกษาส่งเสริมศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณีและภูมิปัญญาท้องถิ่น
- องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นส่งเสริมและสนับสนุนการเรียนรู้ การอนุรักษ์ การสืบสานศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณีและภูมิปัญญาท้องถิ่นสำหรับเด็ก เยาวชน และประชาชนในท้องถิ่น
- สถานศึกษาส่งเสริม สนับสนุนการทำนุบำรุงศาสนาแบบบูรณาการให้แก่ผู้เรียน
- องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นส่งเสริม สนัสนุนการทำนุบำรุงศาสนาให้แก่เด็ก เยาวชน และประชาชนในท้องถิ่น
- สถานศึกษาส่งเสริม สนับสนุนการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
- องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสนับสนุน ส่งเสริมการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงให้แก่ประชาชน
- สถานศึกษามีการจัดการศึกษาแบบพหุวัฒนธรรม
- สถานศึกษามีการจัดการศึกษาแบบเรียนร่วมระหว่างพุทธศาสนากับอิสลามศึกษา
- ครูและบุคลากรทางการศึกษาในจังหวัดชายแดนใต้ ได้รับสวัสดิการและสวัสดิภาพ อย่างเท่าเทียมในสังกัดอื่น สร้างขวัญ กำลังใจ และความภูมิใจในการปฏิบัติหน้าที่
ยุทธศาสตร์และกลยุทธ์
ยุทธศาสตร์ที่ 1
การพัฒนาการบริหารจัดการศึกษาโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานในการพัฒนาท้องถิ่น
กลยุทธ์
- การส่งเสริม สนับสนุนให้สถานศึกษาจัดการศึกษาให้ผู้เรียนได้เรียนรู้เต็มตามศักยภาพสู่ความเป็นเลิศตามอัจฉริยภาพหรือความถนัดของผู้เรียนแต่ละบุคคล
- การพัฒนาหลักสูตรและกระบวนการจัดการเรียนรู้โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
- การส่งเสริม สนับสนุนให้มีการจัดการฝึกอบรมส่งเสริมอาชีพให้แก่เยาวชนและประชาชนในท้องถิ่นได้มีความรู้ความสามารถในการประกอบอาชีพอยู่ในท้องถิ่น
- การส่งเสริม สนับสนุนและจัดหาแหล่งเรียนรู้ตามความต้องการของเด็ก เยาวชนและประชาชนในท้องถิ่นได้เรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต ก้าวทันโลกที่เปลี่ยนแปลงไป
- การส่งเสริมการบริหารจัดการศึกษาเชิงดุลยภาพตามหลักธรรมาภิบาล
- การส่งเสริม สนับสนุนการเรียนรู้ท้องถิ่นและอาเซียนศึกษา
- การพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษาท้องถิ่น
ตำแหน่ง: แผนพัฒนาการศึกษาท้องถิ่นสี่ปี,พ.ศ.2560-2564
ระดับการศึกษา:
อัตราเงินเดือน: –
อัตราว่าง:
ปฏิบัติงานที่: ทั่วประเทศ ()
การสอบภาคความรู้ความสามารถทั่วไป (ภาค ก.) ของ ก.พ.:
*
*ไม่ต้องผ่านภาค ก. ก.พ.
*
*
วิธีการสมัครงาน กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น :ตนเอง