กรมศุลกากร เปิดรับสมัครสอบข้าราชการ บัดนี้-23 ส.ค. 2567 รวม 12 อัตรา,

กรมศุลกากร เปิดรับสมัครสอบข้าราชการ บัดนี้-23 ส.ค. 2567 รวม 12 อัตรา,

กรมศุลกากร เปิดรับสมัครสอบข้าราชการ บัดนี้-23 ส.ค. 2567 รวม 12 อัตรา,

กรมศุลกากร

ลิงค์: https://ehenx.com/18164/ หรือ
ตำแหน่ง: นิติกรปฏิบัติการ,นักวิชาการเงินและบัญชีปฏิบัติการ,เจ้าพนักงานธุรการปฏิบัติงาน,เจ้าพนักงานศุลกากรปฏิบัติงาน
ระดับการศึกษา: ปวช.,ปวส.,ปริญญาตรี
อัตราเงินเดือน: 10,340-18,150
อัตราว่าง: 12
ปฏิบัติงานที่: กรุงเทพมหานคร
เปิดรับสมัครตั้งแต่: บัดนี้ – 23 ส.ค. 2567
**เฉพาะผู้สอบผ่านภาค ก. ก.พ.**



กรมศุลกากร เปิดรับสมัคร

ประกาศกรมศุลกากร

เรื่อง รับสมัครสอบแข่งขันเพื่อบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการ ในตำแหน่งนิติกรปฏิบัติการ ตำแหน่งนักวิชาการเงินและบัญชีปฏิบัติการ ตำแหน่งเจ้าพนักงานธุรการปฏิบัติงาน และตำแหน่งเจ้าพนักงานศุลกากรปฏิบัติงาน

ด้วย กรมศุลกากร จะดำเนินการสอบแข่งขันเพื่อบรรจุบุคคลเข้ารับราชการในตำแหน่ง นิติกรปฏิบัติการ ตำแหน่งนักวิชาการเงินและบัญชีปฏิบัติการ ตำแหน่งเจ้าพนักงานธุรการปฏิบัติงาน และตำแหน่งเจ้าพนักงานศุลกากรปฏิบัติงาน ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๕๓ แห่งพระราชบัญญัติ ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑ และหนังสือสำนักงาน ก.พ. ที่ นร ๑๐๐ร/ว ๑๗ ลงวันที่ ๑๑ ธันวาคม ๒๕๕๖ เรื่อง การสรรหาโดยการสอบแข่งขันเพื่อบรรจุบุคคลเข้ารับราชการ จึงประกาศรับสมัครสอบแข่งขันฯ ดังรายละเอียด ต่อไปนี้

ชื่อตำแหน่ง กลุ่มงาน และรายละเอียดการจ้างงาน

นิติกรปฏิบัติการ

อัตราว่าง : 1 อัตรา

อัตราเงินเดือน : 16500-18150 บาท

คุณวุฒิ : ปริญญาตรี


นักวิชาการเงินและบัญชีปฏิบัติการ

อัตราว่าง : 1 อัตรา

อัตราเงินเดือน : 16500-18150 บาท

คุณวุฒิ : ปริญญาตรี


เจ้าพนักงานธุรการปฏิบัติงาน

อัตราว่าง : 5 อัตรา

อัตราเงินเดือน : 12650-13920 บาท

คุณวุฒิ : ปวช.,ปวส.


เจ้าพนักงานศุลกากรปฏิบัติงาน

อัตราว่าง : 5 อัตรา

อัตราเงินเดือน : 10340-11380 บาท

คุณวุฒิ : ปวช.

คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง

นิติกรปฏิบัติการ

ได้รับปริญญาตรี หรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน ในสาขาวิชานิติศาสตร์


นักวิชาการเงินและบัญชีปฏิบัติการ

ได้รับปริญญาตรี หรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน ในสาขาวิชาดังต่อไปนี้
1. สาขาวิชาการบัญชี หรือ
2. สาขาวิชาบริหารธุรกิจ หรือ
3. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์


เจ้าพนักงานธุรการปฏิบัติงาน

ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) หรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน ในสาขาวิชาดังต่อไปนี้
1. สาขาวิชาการบัญชี หรือ
2. สาขาวิชาการตลาด หรือ
3. สาขาวิชาการเลขานุการ หรือ
4. สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ หรือ
5. สาขาวิชาการเงินและการธนาคาร หรือ
6. สาขาวิชาธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ หรือ
7. สาขาวิชาการจัดการทรัพยากรมนุษย์ หรือ
8. สาขาวิชาการโฆษณาและประชาสัมพันธ์ หรือ
9. สาขาวิชาภาษาต่างประเทศธุรกิจ หรือ
10. สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์ หรือ
11. สาขาวิชาการจัดการทั่วไป หรือ
12. สาขาวิชาการจัดการสำนักงาน


เจ้าพนักงานศุลกากรปฏิบัติงาน

ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) หรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน ในสาขาวิชาดังต่อไปนี้
1. สาขาวิชาเครื่องกล หรือ
2. สาขาวิชาเครื่องมือกลและซ่อมบำรุง หรือ
3. สาขาวิชาโลหะการ หรือ
4. สาขาวิชาก่อสร้าง หรือ
5. สาขาวิชาไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ หรือ
6. สาขาวิชาพณิชยการ

ลักษณะงานที่ปฏิบัติ

นิติกรปฏิบัติการ

ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานในระดับด้น ที่ต้องใช้ความรู้ ความสามารถทางวิชาการ ในการทำงาน ปฏิบัติงานด้านนิติการ ภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับ มอบหมาย และสามารถปฏิบัติงานเป็นผลัดหรือเป็นกะได้ โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่าง ๆ ดังนี้
๑. ด้านการปฏิบัติการ
(๑) เสนอความเห็นแก่ผู้บังคับบัญชาในการตอบข้อหารือหรือวินิจฉัยปัญหา กฎหมายเกี่ยวกับระเบียบของทางราชการที่มีผลกระทบต่อการดำเนินงานของหน่วยงาน เพื่อเป็นข้อมูล สนับสนุนการพิจารณาของผู้บังคับบัญชา
(๒) ศึกษา วิเคราะห์ และวิจัยเพื่อปรับปรุงกฎหมายและระเบียบเกี่ยวกับ หน่วยงานที่รับผิดชอบ เพื่อให้ทันกับสถานการณ์และอำนวยความสะดวกในการทำงาน โดยพิจารณา ถึงความเหมาะสมและเป็นธรรมต่อทุกฝ่าย
(๓) ศึกษาข้อมูล รวบรวม แสวงหาข้อเท็จจริงและข้อกฎหมาย เสนอความเห็น ในการดำเนินการเรื่องใด ๆ ที่เกี่ยวกับวินัยข้าราชการ การร้องทุกข์ การพิทักษ์ระบบคุณธรรม รวมถึง การดำเนินการใด ๆ ตามกฎหมายปกครองที่เกี่ยวข้องกับการบริหารราชการ เพื่อใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติงาน และสามารถดำเนินการได้อย่างถูกต้อง
(๔) รวบรวมข้อเท็จจริง และพยานหลักฐานตลอดจนข้อกฎหมายเสนอ ผู้บังคับบัญชา ในการดำเนินคดีของหน่วยงาน เช่น คดีแพ่ง คดีอาญา คดีปกครอง และคดีอื่น ๆ รวมทั้ง การบังคับคดี
๒. ด้านการวางแผน
วางแผนการทำงานที่รับผิดชอบ ร่วมดำเนินการวางแผน การทำงานของหน่วยงาน หรือโครงการ เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายและผลสัมฤทธที่กำหนด
๓. ด้านการประสานงาน
(๑) ประสานงานทำงานร่วมกันทั้งภายในและภายนอกทีมงานหรือหน่วยงาน เพื่อให้เกิดความร่วมมือและผลส้มฤทธตามที่กำหนด
(๒) ชี้แจงและให้รายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูล ข้อเท็จจริง แก่บุคคลหรือหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างความเข้าใจหรือความร่วมมือในการดำเนินงานตามที่ได้รับมอบหมาย
๔. ด้านการบริการ
ให้คำปรึกษาแนะนำด้านกฎหมายแก่บุคคลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้าง ความเข้าใจในข้อกฎหมายที่เป็นปัญหา และให้ความรู้ถึงข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องและเป็นประโยชน์แก่ การดำเนินงานของบุคคลหรือหน่วยงานดังกล่าว


นักวิชาการเงินและบัญชีปฏิบัติการ

ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับด้น ที่ต้องใช้ความรู้ ความสามารถทางวิชาการ ในการทำงาน ปฏิบัติงานด้านวิชาการเงินและบัญชี ภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ และปฏิบัติงานอื่น ตามที่ได้รับมอบหมาย และสามารถปฏิบัติงานเป็นผลัดหรือเป็นกะได้ โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่าง ๆ ดังนี้
๑. ด้านการปฏิบัติการ
(๑) จัดทำบัญชี เอกสารรายงานความเคลื่อนไหวทางการเงิน ทั้งเงินใน และเงินนอกงบประมาณ เงินทุนหมุนเวียน เพื่อแสดงสถานะทางการเงินและใช้เป็นฐานข้อมูลที่ถูกต้อง ตามระเบียบวิธีการบัญชีของส่วนราชการ
(๒) รวบรวมข้อมูล และรายงานทางการเงินของส่วนราชการ เพื่อพร้อมที่จะปรับปรุง ข้อมูลให้ถูกต้องและทันสมัย
(๓) จัดทำและจัดสรรงบประมาณแก่หน่วยงานของรัฐเพื่อให้การจัดสรร งบประมาณตรงกับความจำเป็นและวัตถุประสงค์ของแต่ละหน่วยงาน
(๔) ศึกษาวิเคราะห์ผลการใช้จ่ายเงินงบประมาณของหน่วยงานภาครัฐ เพื่อให้ การใช้จ่ายเงินเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และใช้เป็นแนวทางในการปรับปรุงการจัดทำและจัดสรร งบประมาณ
(๕) ดูแลการรับและจ่ายเงิน สถานะทางการเงิน ตรวจสอบเอกสารสำคัญ การรับ-จ่ายเงิน เพื่อให้การรับ-จ่ายเงินขององค์กรมีประสิทธิภาพ การปฏิบัติการถูกต้องตามระเบียบปฏิบัติ ของราชการ
(๖) ถ่ายทอดความรู้ด้านการเงินและบัญชี แกเจ้าหน้าที่ระดับรองลงมา เช่น ให้คำแนะนำในการปฏิบัติงาน วางโครงการกำหนดหลักสูตรและฟิกอบรม จัดทำคู่มือประจำสำหรับ การฟิกอบรมและวิธีใช้อุปกรณ์เครื่องมือที่ถูกต้อง เป็นด้น เพื่อถ่ายทอดความรู้ที่เป็นประโยชน์ในการปฏิบัติงาน ตามมาตรฐานและข้อกำหนด
๒. ด้านการวางแผน
วางแผนการทำงานที่รับผิดชอบ ร่วมดำเนินการวางแผน การทำงานของหน่วยงาน หรือโครงการ เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายและผลส้มฤทธที่กำหนด
๓. ด้านการประสานงาน
(๑) ประสานการทำงานร่วมกันทั้งภายในและภายนอกทีมงานหรือหน่วยงาน เพื่อให้เกิดความร่วมมือและผลส้มฤทธตามที่กำหนด
(๒) ชี้แจงและให้รายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูล ข้อเท็จจริง แก่บุคคลหรือหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างความเข้าใจหรือความร่วมมือในการดำเนินงานตามที่ได้รับมอบหมาย
๔. ด้านการบริการ
(๑) ให้คำแนะนำ ตอบปัญหาและชี้แจงเกี่ยวกับงานการเงินและบัญชี ที่ตนมีความรับผิดชอบในระดับเบื้องด้นแก่หน่วยงานราชการ เอกชน หรือประชาชนทั่วไป เพื่อให้ผู้ที่สนใจ ได้ทราบข้อมูลและความรู้ต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์
(๒) จัดเก็บข้อมูลเบื้องต้น ทำสถิติ ปรับปรุง หรือจัดทำฐานข้อมูล หรือระบบสารสนเทศที่เกี่ยวกับงานการเงินและบัญชี เพื่อให้สอดคล้องและสนับสนุนภารกิจของหน่วยงาน และใช้ประกอบการพิจารณากำหนดนโยบาย แผนงาน หลักเกณฑ์ มาตรการต่าง ๆ


เจ้าพนักงานธุรการปฏิบัติงาน

ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้น ปฏิบัติงานด้านธุรการ สารบรรณ หรือบริการทั่วไป ตามแนวทาง แบบอย่าง ขั้นตอน และวิธีการ ที่ชัดเจนภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย และสามารถปฏิบัติงานเป็นผลัดหรือเป็นกะได้โดยมีลักษณะงาน ที่ปฏิบัติในด้านต่าง ๆ ดังนี้
๑. ด้านการปฏิบัติการ
(๑) ปฏิบัติงานธุรการ งานสารบรรณ งานบริการทั่วไป เช่น การรับส่ง ลงทะเบียน ร่างหนังสือโต้ตอบ จัดเตรียมการประชุม การบันทึกข้อมูล เพื่อสนับสนุนให้งานต่าง ๆ ดำเนินไปได้โดยสะดวกราบรื่น และมีหลักฐานตรวจสอบได้
(๒) รวบรวมข้อมูล จัดเก็บข้อมูลสถิติ เอกสาร หลักฐานหนังสือ ตามระเบียบ วิธีปฏิบัติ เพื่อสะดวกต่อการค้นหา และเป็นหลักฐานทางราชการ
(๓) ดำเนินการเกี่ยวกับพัสดุ ครุภัณฑ์ของสำนักงาน เพื่อให้มีอุปกรณ์ที่มีคุณภาพ ไวิใช้งานและอยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน
(๔) รวบรวมรายงานผลการปฏิบัติงานและข้อมูลต่าง ๆ นำเสนอต่อ ผู้บังคับบัญชา เพื่อนำไปใช้เสนอแนะและปรับปรุงการปฏิบัติงานต่อไป
๒. ด้านการบริการ
(๑) ติดต่อประสานงานกับบุคคลภายในหน่วยงานเดียวกันหรือหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องเพื่อให้การปฏิบัติงานเป็นไปด้วยความราบรื่น
(๒) ให้บริการข้อมูลแก่ผู้มาติดต่อราชการ เพื่อให้ได้รับข้อมูลที่จะนำไปใช้ ประโยชน์ได้ต่อไป
(๓) ผลิตเอกสารต่าง ๆ เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงานตามภารกิจของหน่วยงาน และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องตามที่ได้รับมอบหมาย


เจ้าพนักงานศุลกากรปฏิบัติงาน

ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับด้น ปฏิบัติงานด้านศุลกากร ซึ่งมีลักษณะงาน ที่ปฏิบัติเกี่ยวกับการควบคุม การบรรทุกและขนถ่ายสินค้า การเก็บรักษา การตรวจสอบ การจัดเก็บภาษีอากร การป้องกันและปราบปรามการหลีกเลี่ยงและลักลอบหนีศุลกากร ตามแนวทาง แบบอย่าง ขั้นตอน และวิธีการ ที่ชัดเจน ภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย และสามารถปฏิบัติงาน เป็นผลัดหรือเป็นกะได้โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในงานด้านต่าง ๆ ดังนี้
๑. ด้านการปฏิบัติการ
(๑) ปฏิบัติงานการรับและตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ในขั้นด้นของเอกสาร พิธีการ เอกสารการนำสินค้าเข้าและส่งสินค้าออก ตรวจสอบพิกัดราคา และเอกสารอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับ การนำเข้าและล่งออก ช่วยปฏิบัติพิธีการจัดเก็บภาษีอากร ช่วยควบคุมการบรรทุกและขนถ่ายสินค้า ช่วยตรวจคัดไปรษณียภัณฑ์เพื่อปฏิบัติพิธีการจัดเก็บภาษีอากร
(๒) ช่วยปฏิบัติพิธีการจัดเก็บภาษีอากร การจัดเก็บอากรและเงินค่าธรรมเนียมต่าง ๆ
(๓) รับคำร้องขอคืนภาษีอากรและเงินอื่น ๆ ช่วยตรวจสอบใบขนสินค้า และเอกสาร ที่ผ่านพิธีการแล้ว
(๔) รับรายงานเรือเข้า – ออก ช่วยดูแลเก็บรักษาตัวอย่างสินค้า
(๕) ช่วยคุมเฝ็าและคุมส่งสินค้า ช่วยตรวจวัดนี้ามันและลังบรรจุนี้ามันเพื่อทำ ตารางคำนวณปริมาตรความจุประจำลัง และจัดเก็บภาษีอากร
(๖) รักษาการณ์และตรวจค้นเรือต่างประเทศและเรือค้าชายส่ง
(๗) ตรวจยวดยานคนโดยสารและของที่นำติดตัวพร้อมกับผู้เดินทางเข้าประเทศ หรือออกนอกประเทศ
(๘) ช่วยรับและจำหน่ายของกลาง
(๙) การหาข้อมูล ช่วยสืบสวนติดตามความเคลื่อนไหว และตรวจตราป้องกัน ปราบปรามการหลีกเลี่ยงและลักลอบหนีศุลกากร
(๑๐) ตรวจคัดบัญชีสินค้าประเภทต่าง ๆ รวบรวมเอกสารหลักฐานเพื่อกำหนด ราคาจัดทำบัตรราคา หรือเพื่อตรวจสอบราคา
(๑๑) ตรวจสอบเอกสารที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน
(๑๒) การประมวลหลักฐาน สอบสวนและจัดทำประวัติผู้กระทำผิดกฎหมาย ศุลกากร
(๑๓) ติดตาม รวบรวมและจัดทำรายงานผลการปฏิบัติงาน นำเสนอต่อ ผู้บังคับบัญชาเพื่อนำไปใช้เสนอแนะและปรับปรุงการปฏิบัติงานต่อไป
๒. ด้านการบริการ
(๑) ติดต่อประสานงานกับบุคคลภายในหน่วยงานเดียวกันหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การปฏิบัติงานเป็นไปด้วยความสะดวกรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ
(๒) ให้คำแนะนำช่วยเหลือกับผู้มาติดต่อราชการ เพื่อเป็นการให้ประชาชน เกิดความรู้ความเข้าใจและสะดวกรวดเร็วในการทำงาน

วิชาที่สอบ

นิติกรปฏิบัติการ

–    ความรู้ทั้วไปเกี่ยวกับกรมศุลกากร
–    ความรู้เกี่ยวกับพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. ๒๕๖๐ พระราชกำหนดพิกัด อัตราศุลกากร พ.ศ. ๒๕๓๐ (ยกเว้นภาค ๒ และภาค ๓) และกฎกระทรวงที่เกี่ยวข้องกับงานศุลกากร
–    ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายปกครอง
–    ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายล้มละลาย การพิทักษ์ทรัพย์ และการฟ้นพ่กิจการ
–    ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ประมวลกฎหมายอาญา ประมวลกฎหมาย วิธีพิจารณาความแพ่ง และประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
–    ความรู้ด้านภาษาอังกฤษ
–    จรรยาบรรณ จรรยาของข้าราชการกรมศุลกากร


นักวิชาการเงินและบัญชีปฏิบัติการ

–    ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับกรมศุลกากร
–    ความรู้เกี่ยวกับหลักการบัญชีเบื้องด้น
–    พระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๑
–    พระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. ๒๕๖๑
–    ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการเบิกเงินจากคลัง การรับเงิน การจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงิน และการนำเงินส่งคลัง พ.ศ. ๒๕๖๒
–    ระเบียบว่าด้วยการบริหารงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๒
–    ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยเงินทดรองราชการ พ.ศ. ๒๕๖๒
–    ความรู้เกี่ยวกับระบบบริหารการเงินการคลังภาครัฐแบบอิเล็กทรอนิกส์ใหม่ (New GFMIS Thai)
–    ความรู้เกี่ยวกับมาตรฐานการบัญชีภาครัฐและนโยบายการบัญชี
–    ความรู้ด้านภาษาอังกฤษ
–    จรรยาบรรณ จรรยาของข้าราชการกรมศุลกากร


เจ้าพนักงานธุรการปฏิบัติงาน

–    ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับกรมศุลกากร
–    พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของทางราชการ พ.ศ. ๒๕๔๐
–    พระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. ๒๕๖๐ และระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. ๒๕๖๐
–    ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ. ๒๕๒๖ และที่แกไขเพิ่มเดิม
–    ระเบียบว่าด้วยการรักษาความลับของทางราชการ พ.ศ. ๒๕๔๔
–    ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการลาของข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๕๕
–    จรรยาบรรณ จรรยาของข้าราชการกรมศุลกากร


เจ้าพนักงานศุลกากรปฏิบัติงาน

–    ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับกรมศุลกากร
–    ความรู้เบื้องด้นเกี่ยวกับพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. ๒๕๖๐
–    ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ. ๒๕๒๖ และที่แก่ไขเพิ่มเดิม
–    ความรู้เบื้องด้นเกี่ยวกับการค้าระหว่างประเทศ
–    ความรู้เบื้องด้นเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
–    ความรู้เกี่ยวกับสังคม เศรษฐกิจ และการเมือง
–    จรรยาบรรณ จรรยาของข้าราชการกรมศุลกากร


วิธีการสมัครงานข้าราชการ กรมศุลกากร  :สมัครทางอินเทอร์เน็ต  

ผู้ประสงค์จะสมัครสอบ สมัครได้ทางอินเทอร์เน็ตเท่านั้น ตั้งแต่วันที่ บัดนี้ – 23 ส.ค. 2567 ตลอด 24 ชั่วโมง ไม่เว้นวันหยุดราชการ

ดาวน์โหลดประกาศ/ใบสมัครกรมศุลกากร

ประกาศรับสมัคร file 1 | เว็บรับสมัคร

ตำแหน่ง: นิติกรปฏิบัติการ,นักวิชาการเงินและบัญชีปฏิบัติการ,เจ้าพนักงานธุรการปฏิบัติงาน,เจ้าพนักงานศุลกากรปฏิบัติงาน
ระดับการศึกษา: ปวช.,ปวส.,ปริญญาตรี
อัตราเงินเดือน: 10,340-18,150
อัตราว่าง: 12
ปฏิบัติงานที่: กรุงเทพมหานคร ()
การสอบภาคความรู้ความสามารถทั่วไป (ภาค ก.) ของ ก.พ.: **เฉพาะผู้สอบผ่านภาค ก. ก.พ.**

วิธีการสมัครงานข้าราชการ กรมศุลกากร  :สมัครทางอินเทอร์เน็ต  

ผู้ประสงค์จะสมัครสอบ สมัครได้ทางอินเทอร์เน็ตเท่านั้น ตั้งแต่วันที่ บัดนี้ – 23 ส.ค. 2567 ตลอด 24 ชั่วโมง ไม่เว้นวันหยุดราชการ

ดาวน์โหลดประกาศ/ใบสมัครกรมศุลกากร

ประกาศรับสมัคร file 1 | เว็บรับสมัคร


คลิกที่น่เพื่อค้นหาคู่มือ/หนัสือเตรียมสอบสำหรับ : กรมศุลกากร