กสศ. กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา เปิดรับสมัครสอบพนักงาน บัดนี้-30 ก.ย. 2565 รวม 9 อัตรา,

กสศ. กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา เปิดรับสมัครสอบพนักงาน บัดนี้-30 ก.ย. 2565 รวม 9 อัตรา,

กสศ. กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา เปิดรับสมัครสอบพนักงาน บัดนี้-30 ก.ย. 2565 รวม 9 อัตรา,

กสศ. กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา

ลิงค์: https://ehenx.com/17533/ หรือ
ตำแหน่ง: เจ้าหน้าที่บริหารภาคีเครือข่าย,นักวิเคราะห์และงบประมาณ,นักวิเคราะห์และบริหารโครงการ,นักวิชาการวิเคราห์ระบบสารสนเทศ(SystemAnalyst),นักวิชาการพัฒนาระบบสารสนเทศ(SoftwareDeveloper),นักวิชาการเทคโนโลยีสารสนเทศ(ITInfrastructure),นักวิเคราะห์การเงินและบริหารการลงทุน,ผู้อํานวยการสถาบันวิจัยเพื่อความเสมอภาค,หัวหน้าฝ่ายตรวจสอบภายใน
ระดับการศึกษา: ปริญญาตรี,ปริญญาโท
อัตราเงินเดือน:
อัตราว่าง: 9
ปฏิบัติงานที่:
เปิดรับสมัครตั้งแต่: บัดนี้ – 30 ก.ย. 2565
**ไม่ต้องผ่านภาค ก. ก.พ.**



กสศ. กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา เปิดรับสมัคร

ประกาศสำนักงานกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา

เรื่อง การรับสมัครสอบคัดเลือกเพื่อบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเป็นพนักงาน
ของสำนักงานกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา

ด้วยสำนักงานกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (สำนักงาน กสศ.) จะรับสมัครสอบคัดเลือก เพื่อบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเป็นพนักงานของ สำนักงาน กสศ. อาศัยอำนาจตามความในข้อ ๑๕ และข้อ ๑๖ (๒) ของระเบียบกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษาว่าด้วยการบริหารงานบุคคล พ.ศ. ๒๕๖๑ และแก้ไขเพิ่มเดิม จึงประกาศรับสมัครสอบคัดเลือกเพื่อบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเป็นพนักงาน โดยมีรายละเอียดต่อไปนี้

ชื่อตำแหน่ง กลุ่มงาน และรายละเอียดการจ้างงาน

เจ้าหน้าที่บริหารภาคีเครือข่าย

อัตราว่าง : 1 อัตรา

อัตราเงินเดือน : – บาท

คุณวุฒิ : ปริญญาตรี


นักวิเคราะห์และงบประมาณ

อัตราว่าง : 1 อัตรา

อัตราเงินเดือน : – บาท

คุณวุฒิ : ปริญญาตรี


นักวิเคราะห์และบริหารโครงการ

อัตราว่าง : 1 อัตรา

อัตราเงินเดือน : – บาท

คุณวุฒิ : ปริญญาตรี


นักวิชาการวิเคราห์ระบบสารสนเทศ (System Analyst)

อัตราว่าง : 1 อัตรา

อัตราเงินเดือน : – บาท

คุณวุฒิ : ปริญญาตรี


นักวิชาการพัฒนาระบบสารสนเทศ (Software Developer)

อัตราว่าง : 1 อัตรา

อัตราเงินเดือน : – บาท

คุณวุฒิ : ปริญญาตรี


นักวิชาการเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT Infrastructure)

อัตราว่าง : 1 อัตรา

อัตราเงินเดือน : – บาท

คุณวุฒิ : ปริญญาตรี


นักวิเคราะห์การเงินและบริหารการลงทุน

อัตราว่าง : 1 อัตรา

อัตราเงินเดือน : – บาท

คุณวุฒิ : ปริญญาตรี


ผู้ช่วยผู้อํานวยการสถาบันวิจัยเพื่อความเสมอภาค

อัตราว่าง : 1 อัตรา

อัตราเงินเดือน : – บาท

คุณวุฒิ : ปริญญาโท


หัวหน้าฝ่ายตรวจสอบภายใน

อัตราว่าง : 1 อัตรา

อัตราเงินเดือน : – บาท

คุณวุฒิ : ปริญญาตรี

คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง

เจ้าหน้าที่บริหารภาคีเครือข่าย

1 มีอายุไม่เกิน 35 ปี นับถึงวันที่ยื่นใบสมัคร
2 สําเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีขึ้นไปในสาขาที่เกี่ยวข้อง
3 มีประสบการณ์ในการพัฒนาภาคีเครือข่ายหรือด้านการสื่อสารที่เกี่ยวกับการศึกษา จะพิจารณาเป็นพิเศษ


นักวิเคราะห์และงบประมาณ

1 มีอายุไม่เกิน 35 ปี นับถึงวันที่ยื่นใบสมัคร
2 มีวุฒิการศึกษาระดับปริญญาตรีขึ้นไป ในด้านการวางแผน เศรษฐศาสตร์ รัฐศาสตร์ รัฐประศาสนศาสตร์ สังคมศาสตร์ บริหาร สถิติ หรือในสาขาที่เกี่ยวข้อง
3 หากมีประสบการณ์ในด้านการบริหารแผนงานและงบประมาณจะพิจารณาเป็นพิเศษ
4 มีความรู้ด้านภาษาอังกฤษในระดับดี
5 สามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศช่วยในการปฏิบัติงานได้


นักวิเคราะห์และบริหารโครงการ

1 มีอายุไม่เกิน 35 ปี นับถึงวันที่ยื่นใบสมัคร
2 มีวุฒิการศึกษาระดับปริญญาตรีขึ้นไป ในด้านการวางแผน เศรษฐศาสตร์ รัฐศาสตร์ รัฐประศาสนศาสตร์ สังคมศาสตร์ บริหาร สถิติ หรือในสาขาที่เกี่ยวข้อง
3 หากมีประสบการณ์ในด้านการบริหารแผนงานและงบประมาณจะพิจารณาเป็นพิเศษ
4 มีความรู้ด้านภาษาอังกฤษในระดับดี
5 สามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศช่วยในการปฏิบัติงานได้


นักวิชาการวิเคราห์ระบบสารสนเทศ (System Analyst)

1 มีวุฒิการศึกษาระดับปริญญาตรีขึ้นไป ในสาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ (Computer Science) สาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ (Computer Engineer) สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology) หรือในสาขาที่เกี่ยวข้อง
2 มีประสบการณ์ทํางานด้านการวิเคราะห์ ออกแบบ โปรแกรมหรือซอฟต์แวร์อย่างน้อย 1-3 ปี และมีความสามารถในการใช้ฐานข้อมูลได้เป็นอย่างดี เช่น MSSQL, MongoDB, MariaDB เป็นต้น


นักวิชาการพัฒนาระบบสารสนเทศ (Software Developer)

1 มีวุฒิการศึกษาระดับปริญญาตรีขึ้นไป ในสาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ (Computer Science) สาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ (Computer Engineer) สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology) หรือในสาขาที่เกี่ยวข้อง
2 มีความสามารถในการพัฒนาระบบงานคอมพิวเตอร์ด้วยภาษาต่างๆ เช่น C#.NET/.Net Core/ Vuejs, CSS เป็นต้น
3 มีความสามารถในการใช้ฐานข้อมูลได้เป็นอย่างดี เช่น MSSQL, MongoDB, MariaDB เป็นต้น
4 มีประสบการณ์ทํางานด้านการพัฒนาโปรแกรมหรือซอฟต์แวร์อย่างน้อย 1-3 ปี


นักวิชาการเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT Infrastructure)

1 มีวุฒิการศึกษาระดับปริญญาตรีขึ้นไป ในสาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ (Computer Science) สาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ (Computer Engineer) สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology) หรือในสาขาที่เกี่ยวข้อง
2 มีประสบการณ์ด้านการดูแลรักษาระบบเครือข่าย
3 มีความรู้ความเข้าใจในงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ สามารถบริหารจัดการ ระบบปฏิบัติการ Network ได้
4 มีประสบการณ์การทํางานด้านบํารุงรักษาคอมพิวเตอร์ ระบบเครือข่ายและในงาน ที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยทางด้านเทคโนโลยี และในงานที่เกี่ยวข้องกับหน้าที่ความรับผิดชอบ ไม่น้อยกว่า 3 ปี


นักวิเคราะห์การเงินและบริหารการลงทุน

1 อายุตั้งแต่ 21 ปีขึ้นไป แต่ไม่เกิน 40 ปี นับถึงวันที่ยื่นใบสมัคร
2 มีวุฒิการศึกษาระดับปริญญาตรีขึ้นไป คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี หรือคณะ บริหารธุรกิจ สาขาวิชาการเงิน หรือสาขาการเงินและการลงทุน หรือสาขาที่เกี่ยวข้อง
3 มีประสบการณ์ในงานที่เกี่ยวข้องไม่น้อยกว่า 1 ปี
4 หากมีใบอนุญาตผู้แนะนําการลงทุนหรือใบอนุญาตที่เกี่ยวข้องกับตลาดทุนจะพิจารณาเป็น พิเศษ


ผู้ช่วยผู้อํานวยการสถาบันวิจัยเพื่อความเสมอภาค

1 อายุไม่เกิน 45 ปี
2 มีวุฒิการศึกษาระดับปริญญาโทขึ้นไป ในสาขาที่เกี่ยวข้อง
3 มีประสบการณ์ในงานที่เกี่ยวข้องไม่น้อยกว่า 4 ปี
4 มีความรู้ด้านภาษาอังกฤษในระดับดีมาก


หัวหน้าฝ่ายตรวจสอบภายใน

1 มีวุฒิการศึกษาระดับปริญญาตรีขึ้นไป สาขาการเงิน การบัญชี บริหารธุรกิจ เศรษฐศาสตร์ หรือสาขาที่เกี่ยวข้อง
2 มีประสบการณ์ทํางานด้านตรวจสอบภายใน/ควบคุมภายใน และมีประสบการณ์การ ปฏิบัติหน้าที่เลขานุการคณะกรรมการตรวจสอบภายในหรือที่เกี่ยวข้องไม่น้อยกว่า 5 ปี หากมีประสบการณ์ ตรวจสอบภายใน หรือการวางระบบควบคุมภายในภาครัฐ จะได้รับการพิจารณาเป็นกรณีพิเศษ
3 หากได้รับประกาศนียบัตรผู้ตรวจสอบภายในรับอนุญาตสากล (CIA) ประกาศนียบัตร ผู้ตรวจสอบภายในของประเทศไทย (CPIAT) หรือผู้สอบบัญชีรับอนุญาต (CPA) หรืออย่างใดอย่างหนึ่งที่ เทียบเคียงในระดับเดียวกัน จะได้รับการพิจารณาเป็นกรณีพิเศษ
4 มีทักษะด้านคอมพิวเตอร์ สามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ หรือโปรแกรมพื้นฐานช่วยใน การปฏิบัติงานได้ เช่น MS Office, PowerPoint, Google Drive, Google Meet, Zoom Application, การ โต้ตอบรับ-ส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (E-mail)

ลักษณะงานที่ปฏิบัติ

เจ้าหน้าที่บริหารภาคีเครือข่าย

๒.๑ พัฒนา วิเคราะห์ วางแผน บริหารจัดการ และการติดตามประเมินการดำเนินงานด้าน การพัฒนาภาคีเครือข่าย ภายใต้ภารกิจของสำนักพัฒนาหลักประกันโอกาสทางการศึกษา
๒.๒จัดทำแผนและกรอบแนวคิดการบริหารจัดการช่องทางการสื่อสารออนไลน์ (Social Media) เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานของภาคีเครือข่าย ภายใต้ภารกิจของสำนักพัฒนาหลักประกัน โอกาสทางการศึกษา
๒.๓ ประสานงานและสนับสนุนการดำเนินงานในการออกแบบพัฒนาเนื้อหา (Content) และ กิจกรรม (Activity) บนสื่อสังคมออนไลน์ (Social Media) ระหว่าง กสศ. และ ภาคีเครือข่ายทำงานด้านการสื่อสาร
๒.๔ พัฒนาเนื้อหาและกิจกรรม (Content and activity) เพื่อการประชาสัมพันธ์และ หนุนเสริมการดำเนินงานภาคีเครือข่าย ภายใต้ภารกิจของสำนักพัฒนาหลักประกันโอกาสทางการศึกษา
๒.๕ ลงพื้นที่ศึกษา ติดตาม และสนับสนุนการทำงานของภาคีเครือข่าย
๒.๖ สนับสนุนการจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมโอกาสทางการศึกษา
๒.๗ งานอื่นๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย


นักวิเคราะห์และงบประมาณ

๒.๑รวบรวม ศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับภารกิจหลักและแผนกลยุทธ์ของ กสศ.และภารกิจ ของสำนักพัฒนาหลักประกันโอกาสทางการศึกษา ตลอดจนนโยบายที่เกี่ยวข้องกับการลดความเหลื่อมเลาทางการศึกษา
๒.๒ จัดทำแผนปฏิบัติการ กลยุทธ์ ตัวชี้วัด สำหรับการจัดทำคำของบประมาณประจำปี ของสำนักพัฒนาหลักประกันโอกาสทางการศึกษาที่สอดคล้องกับแผนแม่บทของ กสศ.
๒.๓ สนับสนุนการบริหาร กำกับ ติดตามผลการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการของสำนัก พัฒนาหลักประกันโอกาสทางการศึกษาเพื่อให้บรรลุเป้าหมายและตัวชี้วัดของแผนงาน
๒.๓ วิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูลจากผลการดำเนินงานเพื่อจัดทำรายงานเสนอต่อผู้บริหารของ กสศ.
๒.๔ ติดต่อประสานงานกับบุคคลและหน่วยงานต่างๆ เพื่อให้เกิดความเข้าใจและความร่วมมือ ร่วมกับหน่วยงานภายใน กสศ. หรือหน่วยงานภายนอก
๒.๔ ลงพื้นที่ศึกษา ติดตาม และสนับสนุนการทำงานของภาคีเครือข่าย
๒.๕ สนับสนุนการจัดประชุม จัดทำรายงานการประชุม คณะอนุกรรมการพัฒนาระบบ หลักประกันความเสมอภาคทางการศึกษา (ปฐมวัย – ภาคบังคับ)
๒.๖ งานอื่นๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย


นักวิเคราะห์และบริหารโครงการ

๒.๑ พัฒนา วิเคราะห์ วางแผน บริหารจัดการ และการติดตามประเมินผลการดำเนินงาน โครงการที่รับผิดชอบ ภายใต้ภารกิจของสำนักพัฒนาหลักประกันโอกาสทางการศึกษา
๒.๒ จัดทำแผนปฏิบัติการการเพื่อติดตามตัวชี้วัดที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมโอกาสทาง การศึกษา การพัฒนาระบบสารสนเทศการดูแลช่วยเหลือนักเรียน และสังเคราะห์ข้อมูลจากการดำเนินงาน เพื่อจัดทำรายงานความก้าวหน้าการดำเนินงาน ภายใต้ภารกิจของสำนักพัฒนาหลักประกันโอกาสทางการศึกษา ที่สอดคล้องกับแผนแม่บทของ กสศ.
๒.๓ ติดต่อประสานงานกับบุคคลและหน่วยงานต่างๆ เพื่อให้เกิดความเข้าใจและความร่วมมือ ร่วมกับหน่วยงานภายใน กสศ. หรือหน่วยงานภายนอก
๒.๔ ลงพื้นที่ศึกษา ติดตาม และสนับสบุนการทำงานของภาคีเครือข่าย
๒.๕ สนับสนุนการจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมโอกาสทางการศึกษา
๒.๖ งานอื่นๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย


นักวิชาการวิเคราห์ระบบสารสนเทศ (System Analyst)

๒.๑ วิเคราะห์ ออกแบบ และจัดทำเอกสารความต้องการของผู้ใช้งานทั้งภายในและภายนอก กสศ. เพื่อขอรับคำยืนยันความต้องการจากผู้ใช้งาน (Requirement sign-off)
๒.๒ ออกแบบสถาปัตยกรรมซอฟต์แวร์ (Software Architecture) เพื่อจัดวางโครงสร้างของ ระบบสารสนเทศร่วมกับงานเครือข่ายและโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure)
๒.๓ ออกแบบการแสดงผลข้อมูลระบบสารสนเทศ และออกแบบโครงสร้างจัดเก็บข้อมูล (Database Design)
๒.๔ วิเคราะห์ระบบและออกแบบจำลองข้อมูลที่จัดเก็บในแต่ละกระบวนการการทำงาน
๒.๕ ความรู้ด้านฐานข้อมูล และสามารถเขียน SQL Syntax เพื่อเรียกใช้งาน แก้ไข ลบ ข้อมูล ในฐานข้อมูลได้
๒.๖ ตรวจสอบความถูกต้องของการทดสอบระบบโดยสามารถทดสอบการเชื่อมโยงระหว่างระบบ (System Integration Testing : SIT) และการทดสอบและยอมรับโดยผู้ใช้งาน (User Acceptance Testing : UAT) ได้
๒.๗ สามารถจัดทำรายงานตามความต้องการของผู้ใช้งานในกรณีเร่งด่วนได้ (Ad-hoc Query)
๒.๘ จัดทำคู,มือการใช้งานระบบสารสนเทศ
๒.๙ จัดทำร่างขอบเขตรายละเอียดของโครงการต่างๆ ที่ได้รับมอบหมาย ตามกระบวนการ จัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ
๒.๑๐ สนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่น เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างมี ประสิทธิภาพ รวมทั้งสามารถรับผิดชอบงานตามที่ได้รับมอบหมายจากผู้บังคับบัญชา


นักวิชาการพัฒนาระบบสารสนเทศ (Software Developer)

๒.๑ วิเคราะห์ ออกแบบ และพัฒนาระบบหรือซอฟต์แวร์ด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย ในรูปแบบ Web Application และ Mobile Application
๒.๒ ดูแล บำรุงรักษาโปรแกรมหรือซอฟต์แวร์ให้สามารถใช้งานได้อย่างต่อเนื่อง ไม่ส่งผล กระทบต่อการทำงานของผู้ใช้งานทั้งภายในและภายนององค์กร
๒.๓ จัดทำเอกสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับการพัฒนาโปรแกรมหรือซอฟต์แวร์
๒.๔ จัดทำร่างขอบเขตรายละเอียดของโครงการต่างๆ ที่ได้รับมอบหมาย ตามกระบวนการ จัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ
๒.๕ สนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่น เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปอย่าง มีประสิทธิภาพ รวมทั้งสามารถรับผิดชอบงานตามที่ได้รับมอบหมายจากผู้บังคับบัญชา
๓. ความรู้ ทักษะ และสมรรถนะที่ผู้สมัครต้องมี
๓.๑ มีทักษะในการวิเคราะห์และการแก้ปัญหาทางด้านโปรแกรมแบบเฉพาะหน้าหรือในภาวะ วิกฤต รวมทั้งสามารถทำงานภายใต้แรงกดดันได้เป็นอย่างดี
๓.๒ มีทักษะความคิดสร้างสรรค์ และคิดนอกกรอบทางด้านการพัฒนาโปรแกรมหรือ ซอฟต์แวร์ รวมทั้งการประยุกต์ใช้งานได้อย่างเหมาะสม
๓.๓ กรณีมีใบรับรองหรือวุฒิบัตร ทางการพัฒนาโปรแกรมหรือซอฟต์แวร์ จะได้รับการ พิจารณาเป็นพิเศษ


นักวิชาการเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT Infrastructure)

๒.๑ จัดเตรียม ดูแล ตรวจสอบ แก้ไขปัญหาและบำรุงรักษาคอมพิวเตอร์ ระบบเครือข่ายและ โครงสร้างพื้นฐานทางเทคโนโลยีสารสนเทศทั้งด้านซอฟต์แวร์ (Software) และฮาร์ดแวร์ (Hardware) เพื่อให้สามารถทำงานรองรับการใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
๒.๒ ติดตั้ง ดูแล และบำรุงรักษาระบบฐานข้อมูลให้สามารถใช้งานได้อย่างต่อเนื่อง เพียงพอ และมีประสิทธิภาพ ตลอดถึงการแนะนำวิธีการใช้งานระบบให้แก่บุคลากรของ กสศ.
๒.๓ สนับสนุนการใช้งานและอำนวยความสะดวกการใช้งานระบบสารสนเทศต่าง ๆ ของ กสศ.
๒.๔ ดูแลความมั่นคงปลอดภัยของระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและข้อมูลของ กสศ.
๒.๕ ตรวจสอบและสนับสนุนการติดตั้งระบบโครงสร้างพื้นฐานที่ดิดตั้งทั้งหมด รวมถึง เครื่องแม่ข่าย อุปกรณ์เครือข่าย (Network Device) อุปกรณ์กระจายสัญญาณ คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะส่วนบุคคล (Personal Computer) หรือ คอมพิวเตอร์พกพา (Notebook Computer) เป็นต้น
๒.๖ จัดให้มีการดูแลการบำรุงรักษา ตรวจสอบการกำหนดค่าบัญชีผู้ใช้ให้เป็นปัจจุบันอยู่เสมอ
๒.๗ ตรวจสอบและบริหารจัดการเครื่องแม่ข่ายทั้งระบบ Windows และ Linux และเครื่อง คอมพิวเตอร์สำหรับเจ้าหน้าที่ กสศ. รวมถึงติดตั้งระบบป้องกันไวรัส ระบบสำรองข้อมูล ระบบจัดเก็บข้อมูล ให้เป็นมาตรฐาน
๒.๘ สนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่น เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปอย่าง มีประสิทธิภาพ รวมทั้งสามารถรับผิดชอบงานตามที่ได้รับมอบหมายจากผู้บังคับบัญชา


นักวิเคราะห์การเงินและบริหารการลงทุน

๒.๑ วิเคราะห์ ออกแบบและพัฒนากระบวนการทำข้อมูลและการคาดการณ์งบประมาณ เพื่อนำไปสู่การวางแผนและบริหารการลงทุน
๒.๒ วิเคราะห์ จัดทำ วางแผนกลยุทธ์ดำเนินงานด้านระบบการเงินการลงทุน ทั้งแผนระยะสั้น และแผนระยะยาวขององค์กรให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพื่อการรักษาสภาพคลองทางการเงินขององค์กรได้อย่าง มีประสิทธิภาพ สอดคล้องกับแผนงบประมาณ (Forecasting and Planning)
๒.๓ บริหารจัดการระบบบริหารงบประมาณเพื่อให้เป็นเครื่องมือในการควบคุมการดำเนินงาน ขององค์กร ร่วมกำหนดกลยุทธ์และวางแผนการเงิน โครงสร้างเงินลงทุน จัดทำประมาณการทางการเงิน และ บริหารความเสี่ยงทางการเงิน
๒.๔ ศึกษาและนำเสนอเครื่องมือทางการเงินใหม่ๆ ที่เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมทางการเงิน ที่เปลี่ยนแปลงไป ตลอดจนวิเคราะห์และพัฒนาแบบจำลองในการประเมิน และคาดการณ์แนวโน้ม ภาวะเศรษฐกิจการเงินเพื่อสนับสนุนการจัดสรรเงินสำรอง และกำหนดกลยุทธ์ทางการเงินที่เหมาะสม
๒.๕ จัดเตรียมข้อมูลด้านงบประมาณและการเงินที่เกี่ยวข้องกับการลงทุน หรีอสภาพคล่องของ สำนักงาน ประสานงาน ให้การสนับสนุนการวิเคราะห์ข้อมูลต่างๆ และรายงานผลต่อคณะกรรมการ อนุกรรมการ ผู้บริหาร เพื่อการปรับปรุงการดำเนินการขององค์กร ให้เป็นไปตามแผนที่กำหนด
๒.๖ วิเคราะห์ผลการใช้จ่ายงบประมาณ และรายงานการเงิน ระบุปัจจัยเสี่ยง ปัจจัยนำสู่ความสำเร็จ ทางการเงิน เพื่อประกอบการนำเสนอแผนการควบคุมค่าใช้จ่ายขององค์กรให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล รวมทั้งให้ ข้อเสนอแนะในการควบคุมค่าใช้จ่ายที่มีนัยสำคัญ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการบริหารงบประมาณและการเงิน
๒.๗ ร่วมปฏิบัติงาน หรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่น เพื่อให้การดำเนินงานของ องค์กรเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
๒.๘ ปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมายจากผู้บังคับบัญชา


ผู้ช่วยผู้อํานวยการสถาบันวิจัยเพื่อความเสมอภาค

๒.๑ พัฒนาและบริหารจัดการระบบงาน แผนงบประมาณ แผนโครงการ แผนปฏิบัติการประจำปี และแผนต่างๆ ในการดำเนินงานของสถาบัน การพัฒนาบุคลากร รวมถึงบริหารจัดการให้เป็นไปตามแผน ยุทธศาสตร์ของสถาบัน เพื่อให้ การปฏิบัติงานเป็นไปอย่างเต็มประสิทธิภาพ และสัมฤทธื้ผลตามที่ กำหนดไว้
๒.๒ สนับสนุนการพัฒนาและบริหารแผนงานและโครงการวิจัยเพื่อสนับสนุน ให้จังหวัด/พื้นที่ สามารถพัฒนาระบบข้อมูลการจัดการเรียนรู้สำหรับ กลุ่มเป้าหมาย อาทิ กลุ่มเด็กปฐมวัย เด็กเยาวชน นอกระบบการศึกษา แรงงานรุ่นใหม่นอกระบบการศึกษา เพื่อให้เกิดการติดตาม ช่วยเหลือ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
๒.๓ กำกับดูแลแผนงาน/โครงการของสำนักให้บรรลุผลตามวัตถุประสงค์ของ แผนยุทธศาสตร์ ของสถาบันฯ ภายในระยะเวลาที่กำหนด
๒.๔ บริหารจัดการการพัฒนาองค์ความรู้จากแผนงานและโครงการวิจัยเพื่อ ใช้ในการสื่อสาร รณรงค์ และเผยแพร่สู่สาธารณะ การขับเคลื่อนเชิงนโยบาย
๒.๕ สนับสนุนการพัฒนาข้อเสนอนโยบายสาธารณะด้านความเสมอภาคทาง การศึกษาจาก ผลการดำเนินงานของแผนงานและโครงการวิจัย
๒.๖ พัฒนาภาคีเครือข่ายความร่วมมือเพื่อมุ่งให้เกิดสัมถุทธึ๋ผลทั้งในระดับ พื้นที่ จังหวัด หรือ ระดับชาติ ทั้งในและต่างประเทศ
๒.๗ พัฒนาขีดความสามารถของบุคลากรในสำนักฯ ให้มีขีดความสามารถที่ จะดูแลรับผิดชอบ งานที่ได้รับมอบหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ
๒.๘ ปฏิบัติงาน สนับสนุนและเป็นคณะกรรมการชุดต่าง ๆ ตามที่ได้รับ มอบหมาย เพื่อสนับสนุนให้สำนักงานกองทุนเพื่อความเสมอภาคทาง การศึกษาในภาพรวมบรรลุภารกิจที่กำหนดไว้
๒.๙ ปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมายจากผู้บังคับบัญชา


หัวหน้าฝ่ายตรวจสอบภายใน

๒.๑ จัดทำแผนและกำหนดเป้าหมายการตรวจสอบประจำปี (Annual Plan) รวมถึงแผนการ ตรวจสอบระยะยาว (Audit Universe) เพื่อให้มีแผนการตรวจสอบที่ครบล้วน โดยมีการประเมินความเสี่ยง และการ ประเมินประสิทธิภาพของระบบควบคุมภายในขององค์กร เพื่อจัดวางแผนการตรวจสอบองค์กร
๒.๒ จัดทำเอกสารที่เกี่ยวกับการปฏิบัติงานในแต่ละขั้นตอน ตามที่กำหนดไว่ในคู่มือหรือ แนวทางในการปฏิบัติงานตรวจสอบแต่ละลักษณะ เพื่อให้มีเอกสารที่ครบล้วน ถูกต้องตามมาตรฐานงาน
๒.๓ กำกับดูแลใท้มีการปฏิบัติตามแผนการตรวจสอบประจำปีที่ได้รับอนุมัติ และปฏิบัติตาม หลักเกณฑ์กระทรวงการคลังว่าด้วยมาตรฐานและหลักเกณฑ์การปฏิบัติการตรวจสอบภายใน
๒.๔ จัดทำ/ทบทวนกฎบัตรเป็นลายลักษณ์อักษรเสนอผู้บังคับบัญขาอย่างน้อยปีละ ๑ ครั้ง
๒.๕ ปฏิบัติหน้าที่เลขานุการคณะกรรมการตรวจสอบภายในรวมถึงดูแลและรับผิดชอบในการจัด ประชุมคณะกรรมการตรวจสอบภายในหรือคณะทำงานที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานของคณะกรรมการตรวจสอบภายใน
๒.๖ ให้คำแนะนำ/ปรึกษาที่เกี่ยวข้องกับงานตรวจสอบภายใน แก่ ผู้จัดการ ผู้บริหาร บุคลากร ของสำนักงาน กสศ. เพื่อนำไปสู่การปรัปปรุงประสิทธิผลของกระบวนการบริหารความเสี่ยง การควบคุมภายใน และการกำกับดูแลที่ดี
๒.๗ ปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมายเพื่อให้การตรวจสอบภายในบรรลุผลตาม
วัตถุประสงค์


วิธีการสมัครงานพนักงาน กสศ. กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา  :สมัครอีเมล์  

ผู้ประสงค์จะสมัครต้องยื่นใบสมัครและเอกสารหลักฐานประกอบการสมัครให้ครบถ้วนตามที่ กําหนด ทั้งนี้ กรณีผู้สมัครยื่นเอกสารไม่ครบถ้วนตามที่กําหนด หรือส่งโดยวิธีอื่น หรือส่งเมื่อนอกเหนือ ระยะเวลาที่กําหนด ใบสมัครและเอกสารดังกล่าวจะไม่ได้รับการพิจารณา
วันรับสมัครตั้งแต่วันที่ 9 กันยายน 2565 จนถึงวันที่ 30 กันยายน 2565 (หรือจนกว่า จะได้ผู้สมัครที่เหมาะสม)(1) ผู้ประสงค์จะสมัคร สามารถสมัครผ่านทาง https://www.eef.or.th โดยเลือก ช่องทางติดต่อและไปที่ประกาศรับสมัครงาน จากนั้นดาวน์โหลดใบสมัครงานและจัดเตรียมเอกสาร ประกอบการสมัครให้ครบถ้วน
(2) ดําเนินการสมัครตามขั้นตอนการสมัครงานที่แจ้งไว้บนหน้าประกาศรับสมัคร หรือยื่น ใบสมัครพร้อมอัปโหลดเอกสารประกอบการสมัคร ส่งมาที่ https://bit.ly/3RoiG5k
(3) สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ Email : recruit@eef.or.th ตลอด 24 ชั่วโมง ไม่เว้นวันหยุดทําการ หรือหมายเลขโทรศัพท์

กสศ. กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา ตั้งแต่วันที่ 18 กันยายน 2565 – 30 กันยายน 2565 (ในวันและเวลาราชการ)

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม โทร.0655045277

ดาวน์โหลดประกาศ/ใบสมัครกสศ. กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา

ประกาศรับสมัคร file 1

ตำแหน่ง: เจ้าหน้าที่บริหารภาคีเครือข่าย,นักวิเคราะห์และงบประมาณ,นักวิเคราะห์และบริหารโครงการ,นักวิชาการวิเคราห์ระบบสารสนเทศ(SystemAnalyst),นักวิชาการพัฒนาระบบสารสนเทศ(SoftwareDeveloper),นักวิชาการเทคโนโลยีสารสนเทศ(ITInfrastructure),นักวิเคราะห์การเงินและบริหารการลงทุน,ผู้ช่วยผู้อํานวยการสถาบันวิจัยเพื่อความเสมอภาค,หัวหน้าฝ่ายตรวจสอบภายใน
ระดับการศึกษา: ปริญญาตรี,ปริญญาโท
อัตราเงินเดือน:
อัตราว่าง: 9
ปฏิบัติงานที่: ()
การสอบภาคความรู้ความสามารถทั่วไป (ภาค ก.) ของ ก.พ.: **ไม่ต้องผ่านภาค ก. ก.พ.**

วิธีการสมัครงานพนักงาน กสศ. กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา  :สมัครอีเมล์  

ผู้ประสงค์จะสมัครต้องยื่นใบสมัครและเอกสารหลักฐานประกอบการสมัครให้ครบถ้วนตามที่ กําหนด ทั้งนี้ กรณีผู้สมัครยื่นเอกสารไม่ครบถ้วนตามที่กําหนด หรือส่งโดยวิธีอื่น หรือส่งเมื่อนอกเหนือ ระยะเวลาที่กําหนด ใบสมัครและเอกสารดังกล่าวจะไม่ได้รับการพิจารณา
วันรับสมัครตั้งแต่วันที่ 9 กันยายน 2565 จนถึงวันที่ 30 กันยายน 2565 (หรือจนกว่า จะได้ผู้สมัครที่เหมาะสม)(1) ผู้ประสงค์จะสมัคร สามารถสมัครผ่านทาง https://www.eef.or.th โดยเลือก ช่องทางติดต่อและไปที่ประกาศรับสมัครงาน จากนั้นดาวน์โหลดใบสมัครงานและจัดเตรียมเอกสาร ประกอบการสมัครให้ครบถ้วน
(2) ดําเนินการสมัครตามขั้นตอนการสมัครงานที่แจ้งไว้บนหน้าประกาศรับสมัคร หรือยื่น ใบสมัครพร้อมอัปโหลดเอกสารประกอบการสมัคร ส่งมาที่ https://bit.ly/3RoiG5k
(3) สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ Email : recruit@eef.or.th ตลอด 24 ชั่วโมง ไม่เว้นวันหยุดทําการ หรือหมายเลขโทรศัพท์

กสศ. กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา ตั้งแต่วันที่ 18 กันยายน 2565 – 30 กันยายน 2565 (ในวันและเวลาราชการ)

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม โทร.0655045277

ดาวน์โหลดประกาศ/ใบสมัครกสศ. กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา

ประกาศรับสมัคร file 1


คลิกที่น่เพื่อค้นหาคู่มือ/หนัสือเตรียมสอบสำหรับ : กสศ.