กรมทางหลวง เปิดรับสมัครสอบข้าราชการ บัดนี้-30 ก.ย. 2565 รวม 146 อัตรา,

กรมทางหลวง เปิดรับสมัครสอบข้าราชการ บัดนี้-30 ก.ย. 2565 รวม 146 อัตรา,

กรมทางหลวง เปิดรับสมัครสอบข้าราชการ บัดนี้-30 ก.ย. 2565 รวม 146 อัตรา,

กรมทางหลวง

ลิงค์: https://ehenx.com/17524/ หรือ
ตำแหน่ง: นักวิเทศสัมพันธ์ปฏิบัติการ,วิศวกรโยธาปฏิบัติการ,วิศวกรไฟฟ้าปฏิบัติการ,นักวิชาการจัดหาที่ดินปฏิบัติการ,นักวิทยาศาสตร์ปฏิบัติการ,นายช่างโยธาปฏิบัติงาน,นายช่างสำรวจปฏิบัติงาน,นายช่างไฟฟ้าปฏิบัติงาน
ระดับการศึกษา: ปวส.,ปริญญาตรี,ปริญญาโท,ปริญญาโททุกสาขา,ปริญญาโท
อัตราเงินเดือน: 11,500-19,250
อัตราว่าง: 146
ปฏิบัติงานที่: กรุงเทพมหานคร
เปิดรับสมัครตั้งแต่: บัดนี้ – 30 ก.ย. 2565
**ไม่ต้องผ่านภาค ก. ก.พ.**



กรมทางหลวง เปิดรับสมัคร

ประกาศกรมทางหลวง

เรื่อง รับสมัครสอบแข่งขันเพื่อบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเช้ารับราชการในกรมทางหลวง

ด้วยกรมทางหลวง จะดำเนินการสอบแข่งขันเพื่อบรรจุบุคคลเข้ารับราชการในกรมทางหลวง ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในข้อ ๕๓ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑ และ หนังสือสำนักงาน ก.พ. ที่ นร ๑๐๐๔/ว ๑๗ ลงวันที่ ๑๑ ธันวาคม ๒๕๕๖ เรื่อง การสรรหาโดยการสอบแข่งขัน เพื่อบรรจุบุคคลเข้ารับราชการ จึงประกาศรับสมัครสอบแข่งข้นๆ ดังรายละเอียดต่อไปนี้

ชื่อตำแหน่ง กลุ่มงาน และรายละเอียดการจ้างงาน

นักวิเทศสัมพันธ์ปฏิบัติการ

อัตราว่าง : 2 อัตรา

อัตราเงินเดือน : 17500-19250 บาท

คุณวุฒิ : ปริญญาโททุกสาขา*


วิศวกรโยธาปฏิบัติการ

อัตราว่าง : 3 อัตรา

อัตราเงินเดือน : 17500-19250 บาท

คุณวุฒิ : ปริญญาโท


วิศวกรไฟฟ้าปฏิบัติการ

อัตราว่าง : 1 อัตรา

อัตราเงินเดือน : 15000-16500 บาท

คุณวุฒิ : ปริญญาตรี


นักวิชาการจัดหาที่ดินปฏิบัติการ

อัตราว่าง : 5 อัตรา

อัตราเงินเดือน : 15000-16500 บาท

คุณวุฒิ : ปริญญาตรี


นักวิทยาศาสตร์ปฏิบัติการ

อัตราว่าง : 1 อัตรา

อัตราเงินเดือน : 15000-16500 บาท

คุณวุฒิ : ปริญญาตรี


นายช่างโยธาปฏิบัติงาน

อัตราว่าง : 100 อัตรา

อัตราเงินเดือน : 11500-12650 บาท

คุณวุฒิ : ปวส.


นายช่างสำรวจปฏิบัติงาน

อัตราว่าง : 4 อัตรา

อัตราเงินเดือน : 11500-12650 บาท

คุณวุฒิ : ปวส.


นายช่างไฟฟ้าปฏิบัติงาน

อัตราว่าง : 30 อัตรา

อัตราเงินเดือน : 11500-12650 บาท

คุณวุฒิ : ปวส.

คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง

นักวิเทศสัมพันธ์ปฏิบัติการ

ได้รับปริญญาโท หรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกันในทุกสาขาวิชา


วิศวกรโยธาปฏิบัติการ

๑. ได้รับปริญญาโท หรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกันในสาขาวิชาวิศวกรรมศาสตร์ ทางวิศวกรรมโยธา ทางวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม ทางวิศวกรรมสุขาภิบาล ทางวิศวกรรมชลประทาน หรือ ทางวิศวกรรมโครงสร้าง และ
๒. ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมตามที่กฎหมายกำหนด ระดับไม่ตํ่ากว่า ภาคีวิศวกร สาขาวิศวกรรมโยธา ทั้งนี้ ใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมฯ จะต้องได้รับ อนุญาตภายในวันที่ปิดรับสมัคร คือ วันที่ ๓๐ กันยายน ๒๔๖๕


วิศวกรไฟฟ้าปฏิบัติการ

๑. ได้รับปริญญาตรี หรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกันในสาขาวิชาวิศวกรรมศาสตร์ ทางวิศวกรรมไฟฟ้า และ
๒. ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมตามที่กฎหมายกำหนด ระดับไม่ตํ่ากว่าภาคีวิศวกร สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า งานไฟฟ้ากำลัง ทั้งนี้ ใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิขาชีพวิศวกรรมควบคุมฯ จะต้องได้รับ อนุญาตภายในวันที่ปิดรับสมัคร คือ วันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๖๕


นักวิชาการจัดหาที่ดินปฏิบัติการ

ได้รับปริญญาตรี หรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน ในสาขาวิชานิติศาสตร์


นักวิทยาศาสตร์ปฏิบัติการ

ได้รับวุฒิปริญญาตรี หรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกันในสาขาวิชาวิทยาศาสตร์กายภาพ ทางเคมี


นายช่างโยธาปฏิบัติงาน

ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพขั้นสูง (ปวส.) หรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน ในสาขาวิชาโยธา สาขาวิชาสำรวจ หรือสาขาวิชาการก่อสร้าง


นายช่างสำรวจปฏิบัติงาน

ได้รับประกาศนึยบัตรวิชาชีพขั้นสูง (ปวส.) หรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกันในสาขาวิชาโยธา สาขาวิชาสำรวจ หรือสาขาวิชาการก่อสร้าง


นายช่างไฟฟ้าปฏิบัติงาน

ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพขั้นสูง (ปวส.) หรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบไต้ในระดับเดียวกันในสาขาวิชา ไฟฟ้ากำลัง สาขาวิชาอิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิชาเทคโนโลยีโทรคมนาคม หรือสาขาวิชาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์

ลักษณะงานที่ปฏิบัติ

นักวิเทศสัมพันธ์ปฏิบัติการ

ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้น ที่ต้องใข้ความรู้ความสามารถทางวิชาการในการทำงาน ปฏิบัติงานด้านวิเทศสัมพันธ์ ภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่างๆ ดังนี้
๑. ด้านการปฏิบัติการ
(๑) ร่าง โต้ตอบหนังสือเป็นภาษาต่างประเทศ งานแปลเอกสารภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ เพื่อใช่ในการติดต่อประสานงานกับองค์กรระหว่างประเทศ
(๒) รวบรวมข้อมูล วิเคราะห์และติดตามประเมินผล จัดทำบันทึก สรุปรายงานการประชุม ความร่วมมือระหว่างประเทศ เพื่อนำเสนอผู้บังคับบัญชา
(๓) จัดเตรียมข้อมูลสำหรับการเจรจาความร่วมมือทางวิชาการกับต่างประเทศ เพื่อให้การประชุม เจรจาบรรลุผลตามเป้าหมายที่กำหนด
(๔) ส่งเสริม สนับสนุน ดำเนินการเกี่ยวกับทุนการศึกษา ผึเกอบรม ดูงาน ผู้เชี่ยวชาญ วัสดุ อุปกรณ์ อาสาสมัคร องค์การพัฒนาเอกชนและอื่นๆ ทีเกี่ยวข้องกับงานความร่วมมือ เพื่อให้การดำเนินการเป็นไปด้วย ความราบรื่น
(๕) ดำเนินการจัดการประชุมระหว่างประเทศ อำนวยความสะดวกแก่เลขานุการคณะกรรมการ จัดจ้างวิศวกรที่ปรึกษาตามโครงการเงินกู้ในการจัดทำเอกสารการประชุมและการร่างโต้ตอบกับหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้อง รับผิดชอบในงานเอกสารต่างๆ ของกลุ่มวิเทศสัมพันธ์ จัดทำรายงานผลการปฏิบัติงานให้หน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องภายใต้การกำกับดูแล และแนะนำของผู้บังคับบัญชา
๒. ด้านการวางแผน
(๑) วางแผนการทำงานที่รับผิดชอบ ร่วมดำเนินการวางแผนการทำงานของหน่วยงานหรือโครงการ เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายผลสัมฤทธึ๋ที่กำหนด
(๒) จัดทำแผนการประชุมระหว่างประเทศ แผนการต้อนรับและอำนวยความสะดวกแก่เจ้าหน้าที่ จากต่างประเทศ
๓. ด้านการประสานงาน
(๑) ประสานการทำงานร่วมกันทั้งภายในและภายนอกทีมงานหรือหน่วยงาน เพื่อให้เกิดความ ร่วมมือและผลสัมฤทธึ๋ตามที่กำหนด
(๒) ชี้แจงและให้รายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูล ข้อเท็จจริง แก่บุคคลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อสร้าง ความเข้าใจหรือความร่วมมือในการดำเนินงานตามที่ได้รับมอบหมาย
๔. ด้านการบริการ
(๑) เผยแพร่ความรู้ทั่วไปด้านการต่างประเทศแก่ผู้มาติดต่อ เพื่อให้เกิดความเข้าใจอันดีและถูกต้อง เผยแพร่ความรู้ให้คำปรึกษา และชี้แจงตอบปัญหาด้านการต่างประเทศแก่ผู้ที่มาติดต่อเพื่อให้เกิดความเข้าใจอัน ดีและถูกต้องตามระเบียบกฎหมาย
(๒) รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับงานด้านต่างประเทศ เพื่อจัดทำเป็นฐานข้อมูล


วิศวกรโยธาปฏิบัติการ

ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้น ที่ต้องใช้ความรู้ความสามารถทางวิชาการในการทำงาน ปฏิบัติงานด้านวิศวกรรมโยธา ภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่างๆ ดังนี้
๑. ด้านการปฏิบัติการ
(๑) สำรวจ ศึกษา วางแผน วิเคราะห์ วิจัย ออกแบบ คำนวณ ประมาณราคา ควบคุมงานก่อสร้าง งานบำรุง งานบูรณะซ่อมแซม งานอำนวยความปลอดภัย งานผังเมืองหรืองานอื่นใดที่เกี่ยวข้องกับวิศวกรรมโยธา และโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อให้เป็นไปตามหลักวิชาการ กฎหมายที่เกี่ยวข้อง
(๒) ตรวจสอบ แบบแปลน โครงสร้าง สภาพการใช้งานของอาคารหรือโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อให้เกิด ความปลอดภัย
(๓) ควบคุม ดูแลการปฏิบัติงานสำรวจ ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้ได้รูปแบบ แผนที่ต่างๆ ที่ถูกต้อง
(๔) ศึกษา วิเคราะห์ข้อมูลเพื่อ กำหนด กฎ ระเบียบ มาตรฐาน มาตรการ ที่เกี่ยวข้องกับวิศวกรรม โยธา และโครงสร้างพื้นฐาน
(๕) ศึกษา วิจัย และทดสอบวัสดุ ที่ใช้ในงานต้านวิศวกรรมโยธาและโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อให้มี ความมั่นคง แข็งแรง ปลอดภัยและประหยัดงบประมาณ
(๖) ตรวจสอบสัญญาก่อสร้าง บำรุง บูรณะซ่อมแซมและอำนวยความปลอดภัย รวมถึงการแก้ไข สัญญางานวิศวกรรมโยธา เพื่อให้งานมีคุณภาพเป็นไปตามมาตรฐานและข้อกำหนด
(๗) ปฏิบัติงาน ประเภท และขนาด ตามข้อบังคับสภาวิศวกรว่าด้วยหลักเกณฑ์และคุณสมบัติ ของผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมแต่ละระดับสาขาวิศวกรรมโยธา พ.ศ. ๒๕๕๑ ในขอบเขตผู้ได้รับใบอนุญาต เป็นผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม ระดับไม่ตํ่ากว่าภาคีวิศวกร สาขาวิศวกรรมโยธา
(๘) ปฏิบัติหน้าที่อื่นๆ ตามที่!,ด้รับมอบหมาย
๒. ด้านการวางแผน
วางแผนการทำงานที่รับผิดชอบ ร่วมดำเนินการวางแผนการทำงานของหน่วยงานหรือโครงการ เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายและผลสัมฤทธิ้ที่กำหนด
๓. ด้านการประสานงาน
(๑) ประสานการทำงานร่วมกันทั้งภายในและภายนอกทีมงานหรือหน่วยงาน เพื่อให้เกิดความร่วมมือ และผลสัมฤท5ตามที่กำหนด
(๒) ชี้แจงและให้รายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูล ข้อเท็จจริง แก่บุคคลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างความเข้าใจหรือความร่วมมือในการดำเนินงานตามที่ได้รับมอบหมาย
๔. ด้านการบริการ
(๑) ให้คำแนะนำ ชี้แจง ตอบปัญหาและเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับงานวิศวกรรมโยธาและ โครงสร้างพื้นฐานในความรับผิดชอบในระดับเบื้องต้นแก่หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชนทั่วไป เพื่อให้ได้ข้อมูลความรู้ต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ รวมทั้งการมีส่วนร่วม
(๒) จัดเก็บข้อมูลเบื้องต้น ทำสถิติ ปรับปรุง จัดทำฐานข้อมูลหรือระบบสารสนเทศที่เกี่ยวกับงาน วิศวกรรมโยธาและโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อให้สอดคล้องและสนับสบุนภารกิจของหน่วยงาน และใช้ประกอบการ พิจารณากำหนดนโยบาย แผนงาน หลักเกณฑ์ มาตรการต่าง ๆ


วิศวกรไฟฟ้าปฏิบัติการ

ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้น ที่ต้องใช้ความรู้ความสามารถทางวิชาการในการทำงาน ปฏิบัติงานด้านวิศวกรรมไฟฟ้า ภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่างๆ ดังนี้
๑. ด้านการปฏิบัติการ
(๑) สำรวจข้อมูล เพื่อออกแบบระบบไฟฟ้า ระบบลื่อสาร ระบบป้องกันฟ้าผ่า ระบบสัญญาณเดือน อัคคีภัย และอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานวิศวกรรมไฟฟ้า
(๒) ศึกษาและกำหนดรูปแบบรายการ เพื่อให้ได้มาซึ่งรายละเอียดในการก่อสร้างการผลิต การควบคุม การติดตั้ง และการประมาณราคาในงานวิศวกรรมไฟฟ้า
(๓) ควบคุมการก่อสร้าง ติดตั้ง บำรุงรักษาระบบไฟฟ้า ระบบสื่อสาร ระบบป้องกันฟ้าผ่า ระบบ สัญญาณเดือนอัคคีภัย และอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานวิศวกรรมไฟฟ้า เพื่อให้ระบบมีความถูกต้องปลอดภัย ใช้งานได้มีประสิทธิภาพ
(๔) ตรวจสอบ วิเคราะห์ข้อมูล เพื่อพัฒนางานวิศวกรรมไฟฟ้าให้มีความถูกต้อง ปลอดภัยและ ประหยัดพลังงาน
(๕) จัดทำรายละเอียดคุณลักษณะเฉพาะเกี่ยวกับงานวิศวกรรมไฟฟ้า เพื่อประโยชน์สูงสุด ในการใช้งาน ของหน่วยงาน
(๖) ปฏิบัติงาน ประเภท และขนาด ตามข้อบังคับสภาวิศวกรว่าด้วยหลักเกณฑ์และคุณสมบัติของ ผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมแต่ละระดับสาขาวิศวกรรมไฟฟ้า พ.ศ. ๒๕๕๑ ในขอบเขตผู้ได้รับอนุญาต เป็นผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า งานไฟฟ้ากำลัง ระดับไม่ตํ่ากว่าภาคีวิศวกร
(๗) ปฏิบัติหน้าที่อื่นๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย
๒. ด้านการวางแผน
วางแผนการทำงานที่รับผิดขอบ ร่วมดำเนินการวางแผนการทำงานของหน่วยงานหรือโครงการ เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายและผลสัมฤทธี้ที่กำหนด
๓. ด้านการประสานงาน
(๑) ประสานการทำงานร่วมกันทั้งภายในและภายนอกทีมงานหรือหน่วยงาน เพื่อให้เกิดความร่วมมือ และผลสัมฤทธี๋ตามที่กำหนด
(๒) ชี้แจงและให้รายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูล ข้อเท็จจริง แก่บุคคลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างความเข้าใจหรือความร่วมมือในการดำเนินงานตามที่ได้รับมอบหมาย
๔. ด้านการบริการ
(๑) ให้ข้อมูล คำแนะนำ ตอบปัญหา และชี้แจง เกี่ยวกับงานวิศวกรรมไฟฟ้าที่รับผิดชอบในระดับ เบื้องต้นให้กับหน่วยงานราชการ เอกชน หรือประชาชนทั่วไป เพื่อให้ผู้ที่สนใจได้ทราบข้อมูลและความรู้ต่างๆ ที่เป็นประโยชน์
(๒) จัดเก็บข้อมูลเบื้องต้น ทำสถิติ ปรับปรุง จัดทำฐานข้อมูลหรือระบบสารสนเทศที่เกี่ยวกับงาน วิศวกรรมไฟฟ้า เพื่อให้สอดคล้องและสนับสนุนภารกิจของหน่วยงาน และใช้ประกอบการพิจารณากำหนด นโยบาย แผนงาน หลักเกณฑ์ มาตรการต่าง ๆ


นักวิชาการจัดหาที่ดินปฏิบัติการ

ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้น ที่ต้องใช้ความรู้ ความสามารถทางวิชาการในการทำงาน ปฏิบัติงานด้านจัดหาที่ดิน ภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่างๆ ดังนี้
๑ ด้านการปฏิบัติการ
(๑) ตรวจสอบหลักฐานที่ดินเพื่อจำแนกประเภทที่ดิน ได้แก่ ที่ดินมีเอกสารสิทธิตามประมวล กฎหมายที่ดิน ที่ดินมีเอกสารสิทธิตามกฎหมายอื่นๆ แต่ห้ามโอน และที่ดินของรัฐ (ที่ดินสงวนหวงห้ามของ ทางราชการ) เพื่อวินิจฉัยข้อกฎหมายเบื้องต้นสำหรับวางแนวทางปฏิบัติในการจัดหาที่ดินแต่ละประเภทของ เอกสารสิทธิตามขั้นตอนของกฎหมาย
(๒) สอบสวนสิทธิ หรือพิสูจน์สอบสวนสิทธิที่ดินและทรัพย์สิน ให้คำแนะนำเจ้าของที่ดิน ในข้อกฎหมายเกี่ยวกับสิทธิ การลีบสิทธิที่ดิน และไกล่เกลี่ยข้อพิพาทเกี่ยวกับที่ดิน เพื่อให้ได้ข้อยุติผู้ทรงสิทธิ ที่ดินและทรัพย์สินถูกต้องตามความเป็นจริงและตามกฎหมาย
(๓) ตรวจสอบ จัดทำนิติกรรมทางการปกครอง หรือปฏิบัติตามขั้นตอนในการบังคับใช้กฎหมาย ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ เพื่อให้ได้มาซึ่งที่ดินเพื่องานทางหลวง
(๔) พิจารณา ตรวจสอบ ข้อร้องเรียนและเสนอตอบชี้แจงข้อร้องเรียนต่อผู้ร้องและผู้ที่เกี่ยวข้อง เพื่อแก้ปัญหาและสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับงานจัดหาที่ดินแก่ผู้ร้องเรียนและผู้ที่เกี่ยวข้อง
๒ ด้านการวางแผน
วางแผนการทำงานที่รับผิดชอบ ร่วมดำเนินการวางแผนการทำงานของหน่วยงานหรือโครงการ เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายผลสัมฤทธี้ที่กำหนด
๓ ด้านการประสานงาน
(๑) ประสานการทำงานร่วมกันทั้งภายในและภายนอกทีมงานหรือหน่วยงาน เพื่อให้เกิดความ ร่วมมือและผลสัมฤทธึ๋ตามที่กำหนด
(๒) ชี้แจงและให้รายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูล ข้อเท็จจริง แก่บุคคลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างความเข้าใจหรือความร่วมมือในการดำเนินงานตามที่ได้รับมอบหมาย
๔ ด้านการบริการ
(๑) ให้คำปรึกษาทางวิชาการที่เกี่ยวข้องกับงานด้านการจัดหาที่ดินให้แก่หน่วยงานราชการ เอกชน หรือประชาชนทั่วไป เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับงานด้านจัดหาที่ดิน
(๒) ตรวจสอบ ศึกษา วิเคราะห์ และวินิจฉัย ปัญหาข้อกฎหมายและปัญหาข้อเท็จจริง เพื่อช่วยเหลือเจ้าของที่ดิน ให้การดำเนินงานจัดหาที่ดินบรรลุผลสำเร็จด้วยความถูกต้องเรียบร้อยและเป็นที่พอใจ แก่เจ้าของที่ดินผู้รับบริการ
(๓) ก่ายทอดความรู้หรือเทคโนโลยีแก่ผู้ร่วมงานและบุคคลภายนอก เพื่อเพิ่มพูนความรู้และทักษะ การปฏิบัติงาน
(๔) ให้คำปรึกษาแนะนำแก่บุคลากรทั่วไป หรือผู้มีส่วนได้ส่วนเลืยในข้อกฎหมายเบื้องต้น เพื่อคุ้มครองสิทธิของประชาชนและประโยชน์ของทางราชการ


นักวิทยาศาสตร์ปฏิบัติการ

ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้น ที่ต้องใช้ความรู้ความสามารถทางวิชาการในการทำงาน ปฏิบัติงานด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ภายใต้การกำกับ แนะนำตรวจสอบ และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับ มอบหมาย โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่างๆ ดังนี้
๑. ด้านการปฏิบัติการ
(๑) วิเคราะห์ทดสอบ ตรวจสอบ วินิจฉัยทางวิทยาศาสตร์ทางเคมี ของวัสดุแอสฟ้ลต์และวัสดุที่ใช้ ในงานทาง โดยใช้วิธีการ เครื่องมือ เทคโนโลยีพื้นฐานทางเคมี เพื่อนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ในด้านการก่อสร้าง การบำรุงรักษา และด้านอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานทาง
(๒) ร่วมปฏิบัติงานด้านการรับรองระบบคุณภาพของท้องปฏิบัติการทดสอบ มอก.๑๗๐๒๕ จัดทำ ฐานข้อมูลท้องปฏิบัติการ การบริหารจัดการทดสอบความชำนาญ การประกันคุณภาพ และส่งเสริมพัฒนา ท้องปฏิบัติการให้มีประสิทธิภาพ
(๓) ศึกษาค้นคว้า และวิเคราะห์ข้อมูล และร่วมดำเนินการวิจัยทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ทางด้านงานทาง เพื่อสร้างองค์ความรู้
(๔) ร่วมศึกษาวิเคราะห์ วิจัย พัฒนาหลักสูตรฟิกอบรมและถ่ายทอดความรู้ในด้านวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีทางด้านงานทาง เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการและทันต่อความก้าวหน้าของวิทยาการ ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีงานทาง
(๕) ศึกษา ค้นคว้า ติดตามความรู้ และพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อใช้ประโยชน์ด้านต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง
๒. ด้านการวางแผน
วางแผนการทำงานที่รับผิดชอบร่วมดำเนินการวางแผนการทำงานของหน่วยงานหรือโครงการ เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายและผลสัมฤทธึ๋ที่กำหนด
๓. ด้านการประสานงาน
(๑) ประสานการทำงานร่วมกันทั้งภายในและภายนอกทีมงานหรือหน่วยงาน เพื่อให้เกิดความร่วมมือ และผลสัมฤทธึ้ตามที่กำหนด
(๒) ชี้แจงและให้รายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูล ข้อเท็จจริง แก่บุคคลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างความเข้าใจหรือความร่วมมือในการดำเนินงานตามที่ได้รับมอบมาย
๔. ด้านการบริการ
(๑) ให้คำปรึกษาแนะนำเบื้องต้นทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทางด้านงานทางแก่ผู้ประกอบการ ส่วนราชการ และประชาชนผู้สนใจทั่วไป เพื่อให้ผู้ที่สนใจได้ทราบข้อมูล ความรู้ต่างๆ และนำไปใช้ให้เกิด ประโยชน์สูงสุด
(๒) เผยแพร่ ถ่ายทอดความรู้ ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทางด้านงานทาง เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจให้แก่ผู้ที่เกี่ยวข้อง


นายช่างโยธาปฏิบัติงาน

ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้น ซึ่งไม่จำเป็นต้องใช้ผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญา ปฏิบัติงานด้านช่างโยธา ตามแนวทาง แบบอย่าง ขั้นตอน และวิธีการที่ขัดเจน ภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่างๆ ดังนี้
๑. ด้านการปฏิบัติการ
(๑) สำรวจ ออกแบบ เขียนแบบ ก่อสร้าง บำรุงรักษาโครงการก่อสร้างต่างๆ เพื่อให้ตรงตามหลัก วิชาช่าง ความต้องการของหน่วยงานและงบประมาณที่ได้รับ
(๒) ตรวจสอบ แก้ไข และกำหนดรายละเอียดของงานให้ตรงกับแบบรูปและรายการ เพื่อให้การ ดำเนินงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
(๓) ถอดแบบ เพื่อสำรวจปริมาณวัสดุที่ใช้ตามหลักวิขาช่าง เพื่อประมาณราคาก่อสร้าง
(๔) ควบคุมงานก่อสร้าง งานปรับปรุง และช่อมแซม หรือตรวจการจ้างตามที่ได้รับมอบหมาย พร้อมรายงานความก้าวหน้าของงาน เพื่อให้เป็นไปตามระเบียบที่กำหนด
(๕) รวบรวมและจัดเก็บข้อมูล เพื่อการศึกษา วิเคราะห์และวิจัยในงานด้านช่าง
๒. ด้านการบริการ
(๑) ให้คำแนะนำ ตอบปัญหาและฟิกอบรมเกี่ยวกับงานโยธาที่ตนมีความรับผิดชอบแก ผู้ใต้บังคับบัญชา หรือเจ้าหน้าที่ระดับรองลงมา หน่วยงานราชการ เอกชน หรือประชาชนทั่วไปเพื่อให้ผู้ที่สนใจได้ รับทราบข้อมูล ความรู้ต่างๆ และมีทักษะเหมาะสมแก่การปฏิบัติงาน
(๒) ประสานงานในระดับกลุ่ม กับหน่วยงานราชการ เอกชน หรือประชาชนทั่วไป เพื่อขอความช่วยเหลือ และร่วมมือในงานโยธา และแลกเปลี่ยนความรู้ความเชี่ยวชาญที่เป็นประโยชน์ต่อการทำงานของหน่วยงานและ ปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องตามที่ได้รับมอบหมาย


นายช่างสำรวจปฏิบัติงาน

ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้นซึ่งไม่จำเป็นต้องใช้ผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญา ปฏิบัติงานด้านช่างสำรวจ ตามแนวทาง แบบอย่าง ขั้นตอน และวิธีการที่ชัดเจน ภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่างๆ ดังนี้
๑. ด้านการปฏิบัติการ
(๑) สำรวจ รังวัด คำนวณ ตรวจสอบ จัดทำแผนที่ แผนผัง เพื่อให้ทราบรายละเอียดและเป็นไป ตามแบบที่กำหนด สามารถนำไปใช้ประโยชน์ต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
(๒) แก้ไขปัญหาเบื้องต้นจากการปฏิบัติงาน เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ และเป้าหมายของงาน ที่กำหนดไว้
(๓) วัดระดับของภูมิประเทศ วางโครงข่ายหมุดหลักฐาน แผนที่ เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงาน ของหน่วยงาน
(๔) บันทึกข้อมูลรายละเอียดต่างๆ ที่ได้จากการสำรวจ และรายงานผล เพื่อติดตามความก้าวหน้า
ของงาน
(๕) กำหนดขั้นตอนการปฏิบัติงาน และการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลและรายละเอียดต่างๆ ที่ได้จาการสำรวจ เพื่อให้ข้อมูลที่ได้มีความถูกต้อง
๒. ด้านการบริการ
(๑) ให้คำปรึกษา แนะนำทั้งในเชิงทักษะเฉพาะด้านและทักษะทั่วไปแก่บุคลากรทุกสายงาน เพื่อให้ บุคลากรมีความรู้ ความสามารถและมีทักษะ เหมาะสมแก่การปฏิบัติงานในหน้าที่
(๒) ติดต่อประสานงานกับหน่วยงานหรือเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างมี ประสิทธิภาพและปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องตามที่ได้รับมอบหมาย


นายช่างไฟฟ้าปฏิบัติงาน

ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้นซึ่งไม่จำเป็นต้องใช้ผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญา ปฏิบัติงาน ด้านช่างไฟฟ้า ตามแนวทาง แบบอย่าง ขั้นตอน และวิธีการที่ชัดเจน ภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ และ ปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่าง ๆ ดังนี้
๑. ด้านการปฏิบัติการ
(๑) สำรวจ เขียนแบบ ประมาณการ ติดตั้ง ซ่อม ประดิษฐ์ ดัดแปลง ปรับปรุง ควบคุมการใช้งาน ดูแล บำรุงรักษา และใช้งานเครื่องมือ อุปกรณ์ เครื่องจักรกลไฟฟ้า ระบบไฟฟ้า ระบบเครื่องปรับอากาศ ระบบ ไฟฟ้าสื่อสารและโทรคมนาคม ระบบสารสนเทศ ระบบควบคุมอัตโนมัติ ระบบอิเล็กทรอนิกส์ ระบบคอมพิวเตอร์ รับส่งข้อมูลข่าวสาร ในภารกิจที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้สามารถใช้งานได้อย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพตอบสนอง ความต้องการของหน่วยงานภายในและภายนอก
(๒) จัดทำทะเบียน รวบรวม และเก็บข้อมูลทางสถิติของการใช้งาน เพื่อการวางแผน บำรุงรักษา
(๓) ปรับเทียบค่ามาตรฐานตามภารกิจที่เกี่ยวข้องเพื่อใช้ในการออกใบรับรองตามที่หน่วยงาน หรือ กฎหมายกำหนด
๒. ด้านการบริการ
(๑) ให้คำแนะนำ ตอบปัญหา แก้ไขปัญหา ให้แก่ผู้ใช้งานและผู้รับบริการทั้งภายในและภายนอก หน่วยงาน เพื่อให้สามารถใช้งานได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ
(๒) ประสานงาน แลกเปลี่ยนความรู้และข้อมูลต่างๆ ทั้งภายในและภายนอกหน่วยงาน เพื่อประกอบ การปฏิบัติงานได้อย่างครอบคลุม และมีประสิทธิภาพ

วิชาที่สอบ

นักวิเทศสัมพันธ์ปฏิบัติการ

ทดสอบความรู้ความสามารถความเข้าใจเกี่ยวกับงานในตำแหน่งนักวิเทศสัมพันธ์ปฏิบัติการ (ปริญญาโท) โดยวิธีสอบข้อเขียน มีรายละเอียดดังนี้
๑. การแปลความ สรุปความจากข้อความ หรือบทความจากภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทย และ จากภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษ
๒. การใช้ภาษาอังกฤษ (หลักไวยากรณ์ คำศัพท์)
๓. การร่างโต้ตอบหนังสือภาษาอังกฤษ
๔. การร่างคำกล่าวเป็นภาษาอังกฤษ


วิศวกรโยธาปฏิบัติการ

ทดสอบความรู้ความสามารถความเข้าใจเกี่ยวกับงานในตำแหน่งวิศวกรโยธาปฏิบัติการ (ปริญญาโท) โดยวิธีสอบข้อเขียน มีรายละเอียดดังนี้
๑. วิชาความรู้ทั่วไปด้านวิศวกรรมโยธา
๒. วิชาความรู้ด้านวัสดุงานทาง และปฐพีกลศาสตร์
๓. วิชาความรู้ด้านวิศวกรรมสำรวจและออกแบบ งานทางและโครงสร้าง
๔. วิชาความรู้ด้านวิศวกรรมการบริหารจัดการงานก่อสร้างและบำรุงทาง
๕. วิชาความรู้ด้านการวิศวกรรมขนส่งและจราจร


วิศวกรไฟฟ้าปฏิบัติการ

ทดสอบความรู้ความสามารถความเข้าใจเกี่ยวกับงานในตำแหน่งวิศวกรไฟฟ้าปฏิบัติการ (ด้านไฟฟ้ากำลัง) โดยวิธีสอบข้อเขียน มีรายละเอียดดังนี้
ด. วิชาความรู้พื้นฐานด้านวิศวกรรม
๒. วิชาความรู้เกี่ยวกับไฟฟ้า


นักวิชาการจัดหาที่ดินปฏิบัติการ

ทดสอบความรู้ความสามารถความเข้าใจเกี่ยวกับงานในตำแหน่งนักวิชาการจัดหาที่ดินปฏิบัติการ โดยวิธีสอบข้อเขียน มีรายละเอียดดังนี้
๑. พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนและการได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. ๒๔๖๒
๒. พระราชบัญญัติทางหลวง พ.ศ. ๒๔๓๔ และพระราชบัญญัติทางหลวง (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๔๔๙
๓. ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ว่าด้วยความสามารถของบุคคล นิติกรรม สัญญา ทรัพย์สิน ครอบครัว มรดก
๔. ประมวลกฎหมายที่ดิน
๔. พระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางการปกครอง พ.ศ. ๒๔๓๙
๖. ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการรับฟ้งความคิดเห็นของประชาชน พ.ศ. ๒๔๔๘


นักวิทยาศาสตร์ปฏิบัติการ

ทดสอบความรู้ความสามารถความเข้าใจเกี่ยวกับงานในตำแหน่งนักวิทยาศาสตร์ปฏิบัติการ โดยวิธีสอบข้อเขียน มีรายละเอียดดังนี้
๑. ความรู้พื้นฐานต้านเคมีวิเคราะห์ เคมีอินทรีย์ และปิโตรเคมี
๒. ความรู้พื้นฐานด้านเครื่องมือวิเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์


นายช่างโยธาปฏิบัติงาน

ทดสอบความรู้ความสามารถความเข้าใจเกี่ยวกับงานในตำแหน่งนายช่างโยธาปฏิบัติงาน โดยวิธีสอบข้อเขียน มีรายละเอียดดังนี้
๑) ความรู้เกี่ยวกับวิศวกรรมงานทาง
๒) ความรู้เกี่ยวกับการทดสอบวัสดุ ปฐพีกลศาสตร์ และคอนกรีตเทคโนโลยี
๓) ความรู้เกี่ยวกับการสำรวจและการเขียนแบบ
๔) ความรู้เกี่ยวกับเทคนิคการบริหารงานก่อสร้าง ความรู้เกี่ยวกับการประมาณราคา การตรวจงานก่อสร้าง กฎหมายและสัญญาก่อสร้าง การปฏิบัติงานก่อสร้าง และเครื่องจักรก่อสร้าง


นายช่างสำรวจปฏิบัติงาน

ทดสอบความรู้ความสามารถความเข้าใจเกี่ยวกับงานในตำแหน่งนายช่างสำรวจปฏิบัติงาน โดยวิธีสอบ ข้อเขียน มีรายละเอียดดังนี้
ด. วิชาความรู้ด้านงานสำรวจ
ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับงานสำรวจเส้นทาง การวางโค้งแนวราบ แนวตั้ง งานสำรวจวงรอบ (Traverse) ชนิดต่างๆ การวัดมุม การปรับแก้มุม การวัดระยะทางพร้อมการปรับแก้ระยะทาง การสำรวจระดับ การคำนวณปรับแก้ตามมาตรฐานเกณฑ์ชั้นงาน การคำนวณหาค่าพิกัดฉาก การคำนวณหาค่าระดับ การคำนวณปริมาณงานดินตัด-ดินถม การเขียนแผนที่ การเขียนแผนที่ภูมิประเทศแบบดิจิตอลจากข้อมูลสำรวจ (AutoCAD)
๒. วิชาความรู้ทั่วไปด้านวิศวกรรมงานทาง
๑) ความรู้เกี่ยวกับการทดสอบวัสดุ ปฐพีกลศาสตร์ และคอนกรีตเทคโนโลยี
๒) ความรู้เกี่ยวกับการประมาณราคา การบริหารงานก่อสร้าง เทคนิคก่อสร้าง และการปฏิบัติงานก่อสร้าง


นายช่างไฟฟ้าปฏิบัติงาน

ทดสอบความรู้ความสามารถความเข้าใจเกี่ยวกับงานในตำแหน่งนายช่างไฟฟ้าปฏิบัติงาน โดยวิธี สอบข้อเขียน มีรายละเอียดดังนี้
๑) ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับระบบควบคุมทางไฟฟ้า
๒) ความรู้เกี่ยวกับการวิเคราะห์และคำนวณวงจรไฟฟ้า
๓) ความรู้เกี่ยวกับการตรวจวัดทางไฟฟ้า
๔) ความรู้เกี่ยวกับวิธีบำรุงรักษาระบบไฟฟ้า
๕) ความรู้เกี่ยวกับการป้องกันระบบไฟฟ้ากำลัง
๖) ความรู้เบื้องต้นด้านไฟฟ้าสื่อสารและโทรคมนาคม อิเล็กทรอนิกส์
๗) ความรู้เกี่ยวกับเทคนิคเครื่องรับส่งวิทยุสื่อสาร
๘) ความรู้เกี่ยวกับระบบสายส่งและสายอากาศ ระบบลื่อสารด้วยระบบเส้นใยนำแสง
๙) ความรู้เกี่ยวกับดิจิตอลและคอมพิวเตอร์ ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์
๑๐) ความรู้เกี่ยวกับวิธีบำรุงรักษาเครื่องปรับอากาศ


วิธีการสมัครงานข้าราชการ กรมทางหลวง  :สมัครทางอินเทอร์เน็ต  

ผู้ประสงค์จะสมัครสอบ สมัครได้ทางอินเทอร์เน็ตเท่านั้น ตั้งแต่วันที่ บัดนี้ – 30 ก.ย. 2565 ตลอด 24 ชั่วโมง ไม่เว้นวันหยุดราชการ

ดาวน์โหลดประกาศ/ใบสมัครกรมทางหลวง

ประกาศรับสมัคร file 1 | เว็บรับสมัคร

ตำแหน่ง: นักวิเทศสัมพันธ์ปฏิบัติการ,วิศวกรโยธาปฏิบัติการ,วิศวกรไฟฟ้าปฏิบัติการ,นักวิชาการจัดหาที่ดินปฏิบัติการ,นักวิทยาศาสตร์ปฏิบัติการ,นายช่างโยธาปฏิบัติงาน,นายช่างสำรวจปฏิบัติงาน,นายช่างไฟฟ้าปฏิบัติงาน
ระดับการศึกษา: ปวส.,ปริญญาตรี,ปริญญาโท,ปริญญาโททุกสาขา,ปริญญาโท
อัตราเงินเดือน: 11,500-19,250
อัตราว่าง: 146
ปฏิบัติงานที่: กรุงเทพมหานคร ()
การสอบภาคความรู้ความสามารถทั่วไป (ภาค ก.) ของ ก.พ.: **ไม่ต้องผ่านภาค ก. ก.พ.**

วิธีการสมัครงานข้าราชการ กรมทางหลวง  :สมัครทางอินเทอร์เน็ต  

ผู้ประสงค์จะสมัครสอบ สมัครได้ทางอินเทอร์เน็ตเท่านั้น ตั้งแต่วันที่ บัดนี้ – 30 ก.ย. 2565 ตลอด 24 ชั่วโมง ไม่เว้นวันหยุดราชการ

ดาวน์โหลดประกาศ/ใบสมัครกรมทางหลวง

ประกาศรับสมัคร file 1 | เว็บรับสมัคร


คลิกที่น่เพื่อค้นหาคู่มือ/หนัสือเตรียมสอบสำหรับ : กรมทางหลวง