กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เปิดรับสมัครสอบข้าราชการ 22 ส.ค. -11 ก.ย. 2565 รวม 6 อัตรา,

กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เปิดรับสมัครสอบข้าราชการ 22 ส.ค. -11 ก.ย. 2565 รวม 6 อัตรา,

กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน

ลิงค์: https://ehenx.com/17461/ หรือ
ตำแหน่ง: นักทรัพยากรบุคคลปฏิบัติการ,เจ้าพนักงานแรงงานปฏิบัติงาน,เจ้าพนักงานการเงินและบัญชีปฏิบัติงาน,เจ้าพนักงานธุรการปฏิบัติงาน
ระดับการศึกษา: ปวส.ทุกสาขา,ปวส.,ปริญญาตรีทุกสาขา,ปริญญาตรี
อัตราเงินเดือน: 11,500-16,500
อัตราว่าง: 6
ปฏิบัติงานที่: กรุงเทพมหานคร
เปิดรับสมัครตั้งแต่: 22 ส.ค. – 11 ก.ย. 2565
**เฉพาะผู้สอบผ่านภาค ก. ก.พ.**



กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เปิดรับสมัคร

ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน

เรื่อง รับสมัครสอบแข่งขันเพื่อบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการในตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับปฏิบัติการ และตำแหน่งประเภททั่วไป ระดับปฏิบัติงาน ในสังกัดกรมสวัสดิการ และคุ้มครองแรงงาน

ด้วยกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจะดำเนินการสอบแข่งขันเพื่อบรรจุบุคคลเข้ารับราชการ ในตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับปฏิบัติการ และตำแหน่งประเภททั่วไป ระดับปฏิบัติงาน ฉะนั้น อาศัยอำนาจ ตามความในมาตรา ๕๓ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑ และหนังสือสำนักงาน ก.พ. ที่ นร ๑๐๐ธ/ว ๑๗ ลงวันที่ ๑๑ ธันวาคม ๒๕๕๖ เรื่อง การสรรหาโดยการสอบแข่งขันเพื่อบรรจุบุคคลเข้ารับราชการ จึงประกาศรับสมัครสอบแข่งขันเพื่อบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการในตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับปฏิบัติการ และตำแหน่งประเภททั่วไป ระดับปฏิบัติงาน ดังรายละเอียดต่อไปนี้

ชื่อตำแหน่ง กลุ่มงาน และรายละเอียดการจ้างงาน

นักทรัพยากรบุคคลปฏิบัติการ

อัตราว่าง : 1 อัตรา

อัตราเงินเดือน : 15000-16500 บาท

คุณวุฒิ : ปริญญาตรีทุกสาขา*


เจ้าพนักงานแรงงานปฏิบัติงาน

อัตราว่าง : 1 อัตรา

อัตราเงินเดือน : 11500-12650 บาท

คุณวุฒิ : ปวส.ทุกสาขา*


เจ้าพนักงานการเงินและบัญชีปฏิบัติงาน

อัตราว่าง : 3 อัตรา

อัตราเงินเดือน : 11500-12650 บาท

คุณวุฒิ : ปวส.


เจ้าพนักงานธุรการปฏิบัติงาน

อัตราว่าง : 1 อัตรา

อัตราเงินเดือน : 11500-12650 บาท

คุณวุฒิ : ปวส.ทุกสาขา*

คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง

นักทรัพยากรบุคคลปฏิบัติการ

(๑) ได้รับปริญญาตรี ที่ ก.พ. รับรอง ในทุกสาขาวิชา และ
(๒) เป็นผู้สอบผ่านความรู้ความสามารถทั่วไป ระดับปริญญาตรีขึ้นไปของสำนักงาน ก.พ.


เจ้าพนักงานแรงงานปฏิบัติงาน

(๑) ได้รับวุฒิประกาศบียบัตรวิชาชีพขั้นสูง หรือได้รับอนุปริญญาหลักสูตร ๓ ปีที่ ก.พ. รับรอง ในทุกสาขาวิชา และ
(๒) เป็นผู้สอบผ่านความรู้ความสามารถทั่วไป ระดับอนุปริญญา/ประกาศบียบัตรวิชาชีพขั้นสูงขึ้นไปของสำนักงาน ก.พ.


เจ้าพนักงานการเงินและบัญชีปฏิบัติงาน

(๑) ได้รับวุฒิประกาศนียบัตรวิชาชีพขั้นสูง ในสาขาวิชาการบัญชี สาขาวิชาการเงิน และการธนาคาร หรือสาขาวิชาบริหารธุรกิจ หรือได้รับอนุปริญญาหลักสูตร ๓ ปีที่ ก.พ. รับรอง ในสาขาวิชา การบัญชี สาขาวิชาการเงินและการธนาคาร หรือสาขาวิชาบริหารธุรกิจ และ
(๒) เป็นผู้สอบผ่านความรู้ความสามารถทั่วไประดับอนุปริญญา/ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงขึ้นไป ของสำนักงาน ก.พ.


เจ้าพนักงานธุรการปฏิบัติงาน

(๑) ได้รับวุฒิประกาศนียบัตรวิชาชีพขั้นสูง หรือได้รับอนุปริญญาหลักสูตร ๓ ปี ที่ ก.พ. รับรอง ในทุกสาขาวิชา และ
(๒) เป็นผู้สอบผ่านความรู้ความสามารถทั่วไป ระดับอนุปริญญา/ประกาศนียบัตรวิชาชีพขั้นสูงขึ้นไป ของสำนักงาน ก.พ.

ลักษณะงานที่ปฏิบัติ

นักทรัพยากรบุคคลปฏิบัติการ

ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้น ที่ต้องใช้ความรู ความสามารถทางวิชาการในการ ทำงาน ปฏิบัติงานด้านการบริหารหรือการพัฒนาทรัพยากรบุคคล ภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย
๑. ต้านการปฏิบัติการ
(๑) ศึกษา รวบรวม และวิเคราะห์ข้อมูลทั้งในและต่างประเทศ เพื่อประกอบการวางระบบ การจัดทำมาตรฐาน หรือหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการบริหารทรัพยากรบุคคลภาครัฐ หรือของส่วนราชการ
(๒) ศึกษา รวบรวม ตรวจสอบ และวิเคราะห์ข้อมูลสารสนเทศ เพื่อประกอบการดำเนินงาน เกี่ยวกับการบริหารทรัพยากรบุคคล
(๓) ศึกษา รวบรวม และวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อประกอบการกำหนดความต้องการและความจำเป็น ในการพัฒนาทรัพยากรบุคคล การวางแผนทางก้าวหน้าในอาชีพ การจัดหลักสูตร และการถ่ายทอดความรู้ การจัดสรรทุนการศึกษา และการดูแลนักเรียนทุนและบุคลากรภาครัฐในต่างประเทศ รวมถึงการวางแผน และเสนอแนะนโยบายหรือยุทธศาสตร์การพัฒนาทรัพยากรบุคคลของส่วนราชการ และแผนการจัดสรร ทุนการศึกษาและการผึเกอบรม
(๔) ศึกษา รวบรวมข้อมูล และวิเคราะห์งาน เพื่อประกอบการกำหนดตำแหน่ง และการวางแผน อัตรากำลังของส่วนราชการ
(๕) ศึกษา รวบรวม และวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อประกอบการวางหลักเกณฑ์การบริหาร ผลการปฏิบัติงาน และการบริหารค่าตอบแทน
(๖) ศึกษา รวบรวม ตรวจสอบข้อมูล ก้อยคำ ข้อเท็จจริง เพื่อประกอบการดำเนินการทางวินัย การรักษาวินัยและจรรยา
(๗) ศึกษา วิเคราะห์ข้อมูล เพื่อพัฒนาระบบพิทักษ์คุณธรรม
(๘) ดำเนินการเกี่ยวกับกระบวนการสรรหาและเลือกสรร เพื่อบรรจุและแต่งตั้งผู้ฏีความรู้ ความสามารถให้ดำรงตำแหน่ง
๒. ด้านการวางแผน
วางแผนการทำงานที่รับผิดชอบ ร่วมดำเนินการวางแผนการทำงานของหน่วยงานหรือโครงการ เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายและผลสัมฤทธี้ที่กำหนด
๓. ด้านการประสานงาน
(๑) ประสานการทำงานร่วมกันทั้งภายในและภายนอกทีมงานหรือหน่วยงาน เพื่อให้เกิด ความร่วมมือและผลสัมฤทธึ๋ตามที่กำหนด
(๒) ขี้แจงและให้รายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูล ข้อเท็จจริง แก่บุคคลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างความเข้าใจหรือความร่วมมือในการดำเนินงานตามที่ได้รับมอบหมาย
๔. ด้านการบริการ
(๑) ให้คำแนะนำ ชี้แจง ตอบปัญหาเบื้องต้นแก่หน่วยงานราชการ เอกชน ข้าราชการ
พนักงาน หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือประชาชนทั่วไป เกี่ยวกับการบริหารและการพัฒนาทรัพยากรบุคคล เพื่อสร้างความเข้าใจและสนับสนุนงานตามภารกิจของหน่วยงาน
(๒) ให้บริการข้อมูลเกี่ยวกับการบริหารและการพัฒนาทรัพยากรบุคคล เพื่อสนับสนุน
ภารกิจของบุคคลหรือหน่วยงาน และใช้ประกอบการพิจารณากำหนดนโยบาย แผนงาน หลักเกณฑ์และมาตรการต่าง ๆ
(๓) ดำเนินการจัดสวัสดิการและการส่งเสริมสภาพแวดล้อมในการทำงาน เพื่อเพิ่มพูน
ประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน


เจ้าพนักงานแรงงานปฏิบัติงาน

ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้น ซึ่งไม่จำเป็นต้องใช้ผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญา ปฏิบัติงานด้านคุ้มครองแรงงาน ด้านความปลอดภัย อาซีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ด้านแรงงานสัมพันธ์ ด้านสวัสดิการแรงงาน และด้านมาตรฐานแรงงานไทย ตามแนวทาง แบบอย่างขั้นตอน และวิธีการที่ชัดเจนในกลุ่มงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัด เพื่อให้แรงงานทั้งในและนอกระบบได้รับการคุ้มครองและได้รับสิทธิประโยชน์ตามที่กฎหมายกำหนด รวมทั้งเกิดประสิทธิภาพ ประสิทธิผล สอดคล้องกับบทบาท ภารกิจ ยุทธศาสตร์ กลยุทธ์ และนโยบายชาติ และปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ได้รับมอบหมาย
๑. ด้านการปฏิบัติการ
(๑) ร่วมตรวจตามกฎหมายด้านคุ้มครองแรงงาน ความปลอดภัยในการทำงาน แรงงานสัมพันธ์ และสวัสดิการแรงงาน เพื่อให้เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด
(๒) ช่วยรับคำร้อง รวบรวมข้อมูล และพิจารณาวินิจลัยคำร้องตามกฎหมายแรงงาน เพื่อให้แรงงานได้รับสิทธิประโยชน์ตามที่กฎหมายกำหนด
(๓) ส่งเสริมและพัฒนาเครือข่ายด้านแรงงาน รวมทั้งส่งเสริมความปลอดภัยในการทำงาน แรงงานสัมพันธ์ สวัสดิการแรงงาน และมาตรฐานแรงงานไทยในสถานประกอบกิจการ เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจ ในกฎหมายด้านแรงงาน และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
(๔) ช่วยรวบรวมเรื่องราวเกี่ยวกับกรณีพิพาทแรงงาน เพื่อเสนอผู้บังคับบัญชาในการ ดำเนินการไกล่เกลี่ยระงับข้อพิพาทหรือประบีประนอมข้อพิพาทนั้น
(๕) ช่วยประสานในการรวบรวมหลักฐาน และเอกสารที่เกี่ยวข้อง เพื่อดำเนินคดี
(๖) ดำเนินการนืกอบรม สัมมนา และการส่งเสริมให้ความรู้ แก่นายจ้าง ลูกจ้าง และเครือข่ายด้านแรงงาน เพื่อให้ความรู้ความเข้าใจ แก่นายจ้าง ลูกจ้าง และเครือข่ายแรงงานในกฎหมาย ด้านแรงงานและด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
(๗) ศึกษาองค์ความรู้ใหม่ ๆ กฎหมาย และระเบียบต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับด้านสวัสดิการ และคุ้มครองแรงงานเพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด
(๘) เข้าร่วมการประชุมต่าง ๆ เกี่ยวกับงานด้านสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานในการประชุม ระดับสำนัก/กอง และระดับกรม เพื่อให้เกิดความร่วมมือและประโยชน์ต่อการบรรลุผลสัมฤทธึ๋ของการปฏิบัติงาน
๒. ด้านการบริการ
(๑) ติดต่อประสานงานกับหน่วยงานอื่น เพื่อให้ข้อมูลและขอความช่วยเหลือทางด้านแรงงาน
(๒) ให้คำปรึกษาแนะนำด้านแรงงานแก่นายจ้าง ลูกจ้าง และประชาชนทั่วไป


เจ้าพนักงานการเงินและบัญชีปฏิบัติงาน

ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้น ซึ่งไม่จำเป็นต้องใช้ผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญา ปฏิบัติงานด้านงานการเงินและบัญชี ตามแนวทาง แบบอย่าง ขั้นตอน และวิธีการที่ซัดเจน ภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย
๑. ด้านการปฏิบัติการ
(๑) จัดทำและปฏิบัติงานด้านเอกสารทางการเงินและบัญชีในระดับต้น เพื่อให้งานเป็นไปตาม เป้าหมายที่กำหนด
(๒) รวบรวมรายละเอียดการจัดทำงบประมาณ เพื่อใช้ประกอบในการทำงบประมาณประจำปี ของหน่วยงาน
(๓) ตรวจสอบและดูความถูกต้องของเอกสารสำคัญทางการเงิน เพื่อให้เกิดความถูกต้อง ในการปฏิบัติงาน
(๔) ประสานงานในระดับฝ่ายหรือกลุ่มกับหน่วยงานราชการ เอกชน หรือประชาชนทั่วไป เพื่อขอความช่วยเหลือและร่วมมือในงานและแลกเปลี่ยนความรู้ความเชี่ยวชาญที่เป็นประโยชน์ต่อการทำงาน ของหน่วยงาน
๒. ด้านการบริการ
(๑) ให้คำแนะนำ ตอบปัญหา ชี้แจงเกี่ยวกับงานการเงินและบัญชีแก่เจ้าหน้าที่ระดับ รองลงมา หน่วยงานราชการ เอกชน และประชาชนทั่วไป เพื่อถ่ายทอดความรู้ ความชำนาญแก,ผู้ที่สนใจ
(๒) ประสานงานในระดับกลุ่ม กับหน่วยงานราชการ เอกชน หรือประชาชนทั่วไป เพื่อขอ ความช่วยเหลือและความร่วมมือในงานการเงินและบัญชี และแลกเปลี่ยนความรู้ความเชี่ยวชาญที่เป็น ประโยชน์ต่อการทำงานของหน่วยงาน


เจ้าพนักงานธุรการปฏิบัติงาน

ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้น ซึ่งไม่จำเป็นต้องใซัผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญา ปฏิบัติงานด้านธุรการ สารบรรณ หรือบริการทั่วไป ตามแนวทาง แบบอย่าง ขั้นตอน และวิธีการที่ชัดเจน ภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย
๑. ด้านการปฏิบัติการ
(๑) ปฏิบัติงานธุรการ งานสารบรรณ งานบริการทั่วไป เช่น การรับส่ง ลงทะเบียน ร่างหนังสือโต้ตอบ จัดเตรียมการประชุม การบันทึกข้อมูล เพื่อสนับสนุนให้งานต่าง ๆ ดำเนินไปได้โดยสะดวก ราบรื่น และมีหลักฐานตรวจสอบได้
(๒) รวบรวมข้อมูล จัดเก็บข้อมูลสถิติ เอกสาร หลักฐานหนังสือ ตามระเบียบวิธีปฏิบัติ เพื่อสะดวกต่อการด้นหา และเป็นหลักฐานทางราชการ
(๓) ดำเนินการเกี่ยวกับพัสดุ ครุภัณฑ์ของสำนักงาน เพื่อให้มีอุปกรณ์ที่มีคุณภาพไว้ใช้งาน และอยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน
(๔) รวบรวมรายงานผลการปฏิบัติงาน และข้อมูลต่าง ๆ นำเสนอต่อผู้บังคับบัญชา เพื่อนำไปใช้เสนอแนะ และปรับปรุงการปฏิบัติงานต่อไป
๒. ด้านการบริการ
(๑) ติดต่อประสานงานกับบุคคลภายในหน่วยงานเดียวกัน หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การปฏิบัติงานเป็นไปด้วยความราบรื่น
(๒) ให้บริการข้อมูลแก่ผู้มาติดต่อราชการ เพื่อไห้ได้รับข้อมูลที่จะนำไปใช้ประโยชน์ได้ต่อไป
(๓) ผลิตเอกสารต่าง ๆ เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงานตามภารกิจของหน่วยงาน และปฏิบัติ หน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องตามที่ได้รับมอบหมาย

วิชาที่สอบ

นักทรัพยากรบุคคลปฏิบัติการ

๑. การสอบแข่งขันเพื่อวัดความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่ง (คะแนนเต็ม ๒๐๐ คะแนน) โดยวิธีสอบข้อเขียน มีรายละเอียดดังนี้
(๑) ความรู้เกี่ยวกับภารกิจของกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
(๒) ความรู้เกี่ยวกับพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑ และที่แกไขเพิ่มเดิม
(๓) ความรู้เกี่ยวกับหลักการ แนวคิด แนวปฏิบัติเกี่ยวกับการบริหารทรัพยากรบุคคล
(๔) ประมวลจริยธรรมข้าราชการพลเรือน
(๕) ความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศที่เกี่ยวข้องในการปฏิบัติงาน ๒. การสอบแข่งขันเพื่อวัดความเหมาะสมกับตำแหน่ง (คะแนนเต็ม ๑๐๐ คะแนน)
ทำการประเมินบุคคลเพื่อพิจารณาความเหมาะสมกับตำแหน่งที่จะบรรจุและแต่งตั้ง
จากประวัติส่วนตัว ประวัติการศึกษา ประวัติการทำงาน จากการสังเกตพฤติกรรมที่ปรากฏของผู้เข้าสอบ และจากการสัมภาษณ์ ทั้งนี้ อาจใช้วิธีการอื่นใดเพิ่มเดิมเพื่อพิจารณาความเหมาะสมในด้านต่าง ๆ เช่น ความรู้ ที่อาจใช้เป็นประโยชน์ในการปฏิบัติงานในหน้าที่ ความสามารถ ประสบการณ์ ห่วงทีวาจา อุปนิสัย อารมณ์ ทัศนคติ จรรยาบรรณของข้าราชการพลเรือน คุณธรรม จริยธรรม การปรับตัวเข้ากับผู้ร่วมงาน รวมทั้งสังคม และสิ่งแวดล้อม ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ปฏิภาณไหวพริบ และบุคลิกภาพอย่างอื่น เป็นต้น รวมถึงสมรรถนะหลัก สมรรถนะทีจำเป็นของตำแหน่ง


เจ้าพนักงานแรงงานปฏิบัติงาน

ด. การสอบแข่งขันเพื่อวัดความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่ง (คะแนนเต็ม ๒๐๐ คะแนน) โดยวิธีสอบข้อเขียน มีรายละเอียดดังนี้
(๑) ความรู้เกี่ยวกับภารกิจของกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
(๒) ความรู้ด้านแรงงานและกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานได้แก่
(๒.๑) พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑ และที่แกิไขเพิ่มเดิม
(๒.๒) พระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน
พ.ศ. ๒๕๕๔
(๒.๓) พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. ๒๕๑๘
(๓) ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับสถานการณ์เศรษฐกิจ สังคม และเทคโนโลยี รวมถึงนโยบายด้านแรงงาน ๒. การสอบแข่งขันเพื่อวัดความเหมาะสมกับตำแหน่ง (คะแนนเต็ม ๑๐๐ คะแนน)
ทำการประเมินบุคคลเพื่อพิจารณาความเหมาะสมกับตำแหน่งที่จะบรรจุและแต่งตั้ง จากประวัติส่วนตัว ประวัติการศึกษา ประวัติการทำงาน จากการสังเกตพฤติกรรมที่ปรากฏของผู้เข้าสอบ และจากการสัมภาษณ์ ทั้งนี้ อาจใช้วิธีการอื่นใดเพิ่มเดิมเพื่อพิจารณาความเหมาะสมในด้านต่าง ๆ เช่น ความรู้ ที่อาจใช้เป็นประโยชน์ในการปฏิบัติงานในหน้าที่ ความสามารถ ประสบการณ์ ห่วงทีวาจา อุปนิสัย อารมณ์ ทัศนคติ จรรยาบรรณของข้าราชการพลเรือน คุณธรรม จริยธรรม การปรับตัวเข้ากับผู้ร่วมงาน รวมทั้งสังคม และสิ่งแวดล้อม ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ปฏิภาณไหวพริบ และบุคลิกภาพอย่างอื่น เป็นต้น รวมถึงสมรรถนะหลัก สมรรถนะที่จำเป็นของตำแหน่ง


เจ้าพนักงานการเงินและบัญชีปฏิบัติงาน

๑. การสอบแข่งขันเพื่อวัดความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่ง (คะแนนเต็ม ๒๐๐ คะแนน) โดยวิธีสอบข้อเขียน มีรายละเอียดดังนี้
(๑) ความรู้เกี่ยวกับภารกิจของกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
(๒) ความรู้เกี่ยวกับการบัญชีเบื้องต้น
(๓) ความรู้เกี่ยวกับระบบบริหารการเงินการคลังภาครัฐแบบอิเล็กทรอนิกส์ (GFMIS)
(๔) ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการเบิกจ่ายเงินจากคลัง การรับเงิน การจ่ายเงิน
การเก็บรักษาเงิน และการนำเงินส่งคลัง พ.ศ. ๒๕๖๒
(๕) พระราชกฤษฎีกาค่าใข้จ่ายในการเดินทางไปราชการ พ.ศ. ๒๕๒๖ และที่แกิไขเพิ่มเติม และระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการเบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ
(๖) พระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. ๒๕๖๑
(๗) พระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๑ และระเบียบว่าด้วยการบริหาร งบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๒
(๘) พระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้าง และการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. ๒๕๖๐ และระเบียบ กระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. ๒๕๖๐
๒. การสอบแข่งขันเพื่อวัดความเหมาะสมกับตำแหน่ง (คะแนนเต็ม ๑๐๐ คะแนน)
ทำการประเมินบุคคลเพื่อพิจารณาความเหมาะสมกับตำแหน่งที่จะบรรจุและแต่งตั้ง จากประวัติส่วนตัว ประวัติการศึกษา ประวัติการทำงาน จากการสังเกตพฤติกรรมที่ปรากฏของผู้เข้าสอบ และจากการสัมภาษณ์ ทั้งนี้ อาจใช้วิธีการอื่นใดเพิ่มเดิมเพื่อพิจารณาความเหมาะสมในด้านต่าง ๆ เช่น ความรู้ ที่อาจใช้เป็นประโยชน์ในการปฏิบัติงานในหน้าที่ ความสามารถ ประสบการณ์ ห่วงทีวาจา อุปนิสัย อารมณ์ ทัศนคติ จรรยาบรรณของข้าราชการพลเรือน คุณธรรม จริยธรรม การปรับตัวเข้ากับผู้ร่วมงาน รวมทั้งสังคม และสิ่งแวดล้อม ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ปฏิภาณไหวพริบ และบุคลิกภาพอย่างอื่น เป็นต้น รวมถึงสมรรถนะหลัก สมรรถนะที่จำเป็นของตำแหน่ง


เจ้าพนักงานธุรการปฏิบัติงาน

๑. การสอบแข่งขันเพื่อวัดความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่ง (คะแนนเต็ม ๒๐๐ คะแนน) โดยวิธีสอบข้อเขียน มีรายละเอียดดังนี้
(๑) ความรู้เกี่ยวกับภารกิจของกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
(๒) ความรู้เกี่ยวกับระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสรรบรรณ พ.ศ. ๒๕๒๖ และที่แกไขเพิ่มเดิม
(๓) ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการรักษาความลับของทางราชการ พ.ศ. ๒๕๔๔
(๔) ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการลาของข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๕๕
(๕) พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. ๒๕๔๐
(๖) พระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้าง และการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. ๒๕๖๐ และระเบียบ กระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. ๒๕๖๐
๒. การสอบแข่งขันเพื่อวัดความเหมาะสมกับตำแหน่ง (คะแนนเต็ม ๑๐๐ คะแนน)
ทำการประเมินบุคคลเพื่อพิจารณาความเหมาะสมกับตำแหน่งที่จะบรรจุและแต่งตั้ง จากประวัติส่วนตัว ประวัติการศึกษา ประวัติการทำงาน จากการสังเกตพฤติกรรมที่ปรากฏของผู้เข้าสอบ และจากการสัมภาษณ์ทั้งนี้ อาจใช้วิธีการอื่นใดเพิ่มเดิมเพื่อพิจารณาความเหมาะสมในด้านต่าง ๆ เข่น ความรู้ ที่อาจใช้เป็นประโยชน์ในการปฏิบัติงานในหน้าที่ ความสามารถ ประสบการณ์ ทวงทีวาจา อุปนิสัย อารมณ์ ทัศนคติ จรรยาบรรณของข้าราชการพลเรือน คุณธรรม จริยธรรม การปรับตัวเข้ากับผู้ร่วมงาน รวมทั้งสังคม และสิ่งแวดล้อม ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ปฏิภาณไหวพริบ และบุคลิกภาพอย่างอื่น เป็นต้น รวมถึงสมรรถนะหลัก สมรรถนะที่จำเป็นของตำแหน่ง


วิธีการสมัครงานข้าราชการ กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน  :สมัครทางอินเทอร์เน็ต  

ผู้ประสงค์จะสมัครสอบ สมัครได้ทางอินเทอร์เน็ตเท่านั้น ตั้งแต่วันที่ 22 ส.ค. – 11 ก.ย. 2565 ตลอด 24 ชั่วโมง ไม่เว้นวันหยุดราชการ

ดาวน์โหลดประกาศ/ใบสมัครกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน

ประกาศรับสมัคร file 1 | เว็บรับสมัคร

ตำแหน่ง: นักทรัพยากรบุคคลปฏิบัติการ,เจ้าพนักงานแรงงานปฏิบัติงาน,เจ้าพนักงานการเงินและบัญชีปฏิบัติงาน,เจ้าพนักงานธุรการปฏิบัติงาน
ระดับการศึกษา: ปวส.ทุกสาขา,ปวส.,ปริญญาตรีทุกสาขา,ปริญญาตรี
อัตราเงินเดือน: 11,500-16,500
อัตราว่าง: 6
ปฏิบัติงานที่: กรุงเทพมหานคร ()
การสอบภาคความรู้ความสามารถทั่วไป (ภาค ก.) ของ ก.พ.: **เฉพาะผู้สอบผ่านภาค ก. ก.พ.**

วิธีการสมัครงานข้าราชการ กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน  :สมัครทางอินเทอร์เน็ต  

ผู้ประสงค์จะสมัครสอบ สมัครได้ทางอินเทอร์เน็ตเท่านั้น ตั้งแต่วันที่ 22 ส.ค. – 11 ก.ย. 2565 ตลอด 24 ชั่วโมง ไม่เว้นวันหยุดราชการ

ดาวน์โหลดประกาศ/ใบสมัครกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน

ประกาศรับสมัคร file 1 | เว็บรับสมัคร


คลิกที่น่เพื่อค้นหาคู่มือ/หนัสือเตรียมสอบสำหรับ : กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน

Scroll to Top