ศูนย์บริหารสถานการณ์การแพ ร่ระบาดโรคติดเชื้อโคโรนา 2019 (COVID19) 2019 (COVID19) เปิดข้อกำหนดฉบับที่1ออกตามความในมาตรา9พรก.บริการราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินพ.ศ.2548
“ศูนย์บริหารสถานการณ์การแพ ร่ระบาดโรคติดเชื้อโคโรนา 2019 (COVID19) 2019 (COVID19) เปิดข้อกำหนดฉบับที่1ออกตามความในมาตรา9พรก.บริการราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินพ.ศ.2548
เปิดข้อกำหนดฉบับที่ 1 ออกตามความในมาตรา 9 พรก.บริการราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548
จากการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ได้มีการออกข้อกำหนด ตามมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนด การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน 2548 ฉบับ ที่ 1 โดยมีการออกข้อกำหนด 16 ข้อ
เปิด 16 ข้อกำหนด ในสถานการณ์ฉุกเฉิน
จากการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ได้มีการออกข้อกำหนด ตามมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนด การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน 2548 ฉบับ ที่ 1 โดยมีการออกข้อกำหนด 16 ข้อ โดยจะมีรายละเอียดของการ เปิดปิดสถานที่ ข้อห้ามต่างๆ ดังนี้
1 ห้ามเข้าพื้นที่เสี่ยง หรือสถานที่ที่มีความเสี่ยงต่อการติดต่อเชื้อโรคโควิด-19 ตามที่กำหนดในมติคณะรัฐมนตรีวันที่ 17 มีนาคม 2563 หรือตามที่ผู้ว่าฯ กทม. ผู้ว่าราชการจังหวัด หรือเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อได้ประกาศหรือสั่งตาม พ.ร.บ.โรคติดต่อ พ.ศ. 2558
2 ปิดสถานที่เสี่ยงต่อการติดต่อโรค ให้ผู้ว่าฯ กทม. และผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัดออกคำสั่งโดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 35 (1) พ.ร.บ.โรคติดต่อ พ.ศ. 2558 พิจารณาสั่งปิดสถานที่ที่มีคนจำนวนมากไปทำกิจกรรมร่วมกันและเสี่ยงต่อการแพร่เชื้อเป็นการชั่วคราว โดยต้องสั่งปิดสถานที่ดังต่อไปนี้
(1) สนามมวย สนามกีฬา สนามแข่งขัน สนามเด็กเล่น สนามม้าในทุกจังหวัด
(2) ผับ สถานบริการ สถานที่แสดงมหรสพ สถานที่มีการแสดงหรือการละเล่นสาธารณะ
สถานประกอบการ อาบ อบ นวด และนวดแผนโบราณ สปา สถานที่ออกกำลังกาย (ฟิตเนส)
สถานบันเทิง ในกรุงเทพฯและปริมณฑล
(3) แหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติ พิพิธภัณฑสถาน ห้องสมุดสาธารณะ ศาสนสถาน สถานีขนส่งหรือโดยสาร ตลาด ห้างสรรพสินค้า ให้พิจารณาโดยสั่งปิดเฉพาะส่วนหรือทั้งหมด โดยสามารถกำหนดเงื่อนไขเพิ่มเติมตามความเห็นชอบของคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดหรือกรุงเทพมหานคร ทั้งนี้ ให้เจ้าของสถานที่จัดให้มีมาตรการคัดกรองและปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโรคตามที่ทางราชการกำหนด
3 ปิดพรมแดนไทย ทั้งทางอากาศ ทางบก ทางน้ำ ห้ามเข้าประเทศไทย ยกเว้น ดังนี้
(1) เป็นผู้ได้รับยกเว้น หรือได้รับอนุญาตจากนายกรัฐมนตรี/หัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินกำหนด
(2) เป็นผู้ขนส่งสินค้าตามความจำเป็น
(3) เป็นผู้ควบคุมยานพาหนะหรือเจ้าหน้าที่ประจำยานพาหนะ ที่มีความจำเป็นเข้ามาตามภารกิจและมีกำหนดเวลาเดินทางออกนอกราชอาณาจักรชัดเจน
(4) เป็นบุคคลในคณะทูต คณะกงสุล องค์การระหว่างประเทศ หรือผู้แทนรัฐบาลที่มา
ปฏิบัติงานในไทย หรือได้รับอนุญาตมีหนังสือรับรองจากกระทรวงการต่างประเทศ
(5) ผู้ไม่มีสัญชาติไทยแต่มีใบอนุญาตทำงานหรือได้รับอนุญาตจากทางราชการให้
ทำงานในราชอาณาจักร
(6) เป็นผู้มีสัญชาติไทยในต่างแดน ให้ติดต่อสถานทูตไทยหรือสถานกงสุลไทยในประเทศที่พำนัก เพื่อออกหนังสือรับรอง หรือมีใบรับรองแพทย์ ทั้งนี้ ผู้ได้รับการยกเว้นหรือผ่อนผันตาม (4) (5) หรือ (6) ต้องมีใบรับรองแพทย์ที่ยืนยันว่ามีสุขภาพเหมาะสมต่อการเดินทางทางอากาศ (Fit to Fly Health Certificate) ซึ่งได้รับการตรวจรับรองหรือออกให้มีระยะเวลาไม่เกิน 72 ชั่วโมงก่อนการเดินทาง โดยเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองมีอำนาจปฏิเสธไม่ให้ผู้ไม่มีสัญชาติไทยที่ตรวจพบหรือต้องสงสัยว่าติดเชื้อโควิด-19 หรือไม่ยินยอมให้ตรวจ เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมืองได้
4 การห้ามกักตุนสินค้า ยา เวชภัณฑ์ อาหาร น้ำดื่ม สินค้าอื่นที่จำเป็นต่อการอุปโภคบริโภคในชีวิตประจำวัน
5 การห้ามชุมนุม ห้ามทำกิจกรรม หรือการมั่วสุม ในสถานที่แออัด หรือกิจกรรมยุยงให้เกิดความไม่สงบเรียบร้อย
6 ห้ามเสนอข่าวหรือเผยแพร่ข่าวสารเกี่ยวกับ โควิด-19 ที่ไม่เป็นความจริง ทำให้ประชาชนเกิดความหวาดกลัว หรือเจตนาบิดเบือนข้อมูลข่าวสาร
7 มาตรการเตรียมรับสถานการณ์
(1) ให้ผู้ว่าฯ กทม. และผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัด เป็นผู้กำกับการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินในเขตท้องที่ที่ตนรับผิดชอบ หากมีปัญหาให้รายงานกระทรวงมหาดไทย
(2) ให้หน่วยงานของรัฐทุกแห่ง กำหนดและประชาสัมพันธ์เผยแพร่มาตรการเพื่อช่วยเหลือหรือบรรเทาผลกระทบอันเกิดจากการบังคับใช้มาตรการของรัฐต่อประชาชนตามหน้าที่และ
อำนาจโดยพิจารณาใช้งบประมาณของตนเองเป็นอันดับแรก ในกรณีไม่อาจดำเนินการได้ให้เสนอหรือขอรับการสนับสนุนจากรัฐบาล
(3) ให้โรงพยาบาล สถานพยาบาลหรือหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน จัดหายา เวชภัณฑ์ เครื่องมือในการตรวจโรค เครื่องช่วยในการหายใจและอุปกรณ์อื่น ๆ ที่จำเป็นให้เพียงพอตามมาตรฐานที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดหรือแนะนำ ทั้งนี้ รวมถึงการเตรียมบุคลากรทางการแพทย์ และการเตรียมสถานที่กักกัน สถานที่คุมไว้สังเกต หรือเตียง เพื่อรองรับผู้ป่วยที่อาจเพิ่มจำนวนขึ้น โดยขอความร่วมมือดัดแปลงสถานที่ต่าง ๆ เช่น โรงแรม โรงเรียน มหาวิทยาลัย หอประชุม สถานที่ปฏิบัติธรรม ศาลาวัด อาคารของเอกชนที่ยังไม่ได้ใช้งาน หรือสถานที่ราชการ สถานที่เอกขนอื่น ๆ เป็นโรงพยาบาลชั่วคราว
(4) การกักกันตัวเองไว้สังเกตอาการตามคำสั่งหรือคำแนะนำของเจ้าหน้าที่หรือเป็นผู้เดินทางข้ามเขตมาจากพื้นที่จังหวัดอื่นให้เจ้าหน้าที่หรือหน่วยปฏิบัติการควบคุมโรคติดต่อที่ผู้ว่าราชการจังหวัดจัดตั้งขึ้น หรืออาสาสมัครที่ปฏิบัติงานให้แก่ทางราชการสามารถเข้าตรวจสอบการเฝ้าระวังหรือความเข้มงวดจริงจังในการกักกันตนเองและให้คำแนะนำวิธีปฏิบัติที่ถูกต้องได้ ในกรณีนี้อาจขอความร่วมมือจากประชาชนในท้องถิ่นให้ช่วยตรวจสอบด้วยก็ได้ ในกรณีตาม (3) ให้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามระเบียบทางราชการ โดยให้กระทรวงสาธารณสุข กรมบัญชีกลาง และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณายกวันหรือผ่อนผันตามอำนาจที่มีอยู่
8 มาตรการพึงปฏิบัติกลุ่มคนที่มีความเสี่ยงสูงต่อการติดเชื้อโรคโควิด-19 ได้ง่าย ควร อยู่ในเคหสถาน หรือบริเวณสถานที่พำนักของตน เพื่อป้องกันตนเองจากการติดเชื้อจากสภาพแวดล้อมภายนอก ดังนี้
(1) ผู้สูงอายุตั้งแต่ 70 ปีขึ้นไป
(2) กลุ่มคนที่มีโรคประจำตัว ได้แก่ โรคไม่ติดต่อเรื้อรังต่าง ๆ เช่น โรคเบาหวาน
โรคความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดหัวใจและสมอง โรคในระบบทางเดินหายใจ โรคภูมิแพ้ซึ่งมีภูมิคุ้มกันต่ำตามธรรมชาติของโรคและด้วยยาที่ใช้รักษา
(3) กลุ่มเด็กเล็กที่มีอายุต่ำกว่า 5 ปี
ทั้งนี้ ยกเว้นมีความจำเป็นเพื่อการพบแพทย์ การรักษาพยาบาล
การปฏิบัติหน้าที่แพทย์พยาบาลหรือบุคลากรทางการแพทย์
9 มาตรการการเข้า-ออกประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เข้มงวดในการตรวจลงตราหรือออกวีซ่าหรืออนุญาตทั้งและออกประเทศไทย
10 มาตรการดูแลความสงบเรียบร้อยในกรุงเทพฯ ให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติจัดเวรยามหรือตั้งจุดตรวจตามถนน เส้นทางคมนาคม สถานีขนส่งหรือโดยสาร เพื่อป้องกันอุบัติเหตุ การก่ออาชญากรรม และการวมกลุ่มชุมนุมหรือมั่วสุมในลักษณะที่เสี่ยงต่อการแพร่เชื้อโรค หากพบเห็นให้ดำเนินคดีตามกฎหมายทันที
ส่วนต่างจังหวัดให้หัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินในส่วนที่เกี่ยวกับความมั่นคง หรือสำนักงานตำรวจแห่งชาติพิจารณาตามความเหมาะสม โดยต้องมีมาตรการตั้งด่านตรวจ หรือจุดสกัดดูแลการเดินทางข้ามจังหวัด เพื่อจัดระเบียบการเดินทาง การเฝ้าระวังหรือสังเกตอาการผู้เดินทาง และพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อการติดต่อโรค
11 มาตรการป้องกันโรค ดังนี้
(1) ให้ทำความสะอาดพื้นผิวสัมผัสของสถานที่ที่เกี่ยวข้องก่อนการจัดกิจกรรม และให้กำจัดขยะมูลฝอยทุกวัน
(2) ให้เจ้าหน้าที่ ผู้ประกอบการ ผู้ร่วมงาน ผู้ร่วมกิจกรรม ลูกจ้าง ผู้ใช้บริการสวมหน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้า
(3)ให้บุคคลตาม (2) ล้างมือด้วยสบู่ แอลกอฮอล์ เจลหรือน้ำยาฆ่าเชื้อโรค
(4) ให้บุคคลตาม (2) เว้นระยะนั่งหรือยื่นห่างกันอย่างน้อยหนึ่งเมตรเพื่อป้องกันการ
ติดต่อสัมผัส หรือแพร่เชื้อโรคทางฝอยละอองน้ำลาย
(5) ให้ควบคุมจำนวนผู้ร่วมกิจกรรมไม่ให้แออัด หรือลดเวลาในการทำกิจกรรมให้สั้นลง
หลีกเลี่ยงการติดต่อสัมผัสระหว่างกัน
12 สถานที่ที่เปิดให้บริการตามปกติ ได้แก่ โรงพยาบาล สถานพยาบาล คลินิกแพทย์รักษาโรค ร้านขายยา ร้านอาหารที่ไม่ใช่สถานบันเทิง แผงจำหน่ายอาหาร ร้านสะดวก ร้านค้าทั่วไป ห้างสรรพสินค้า (แผนกซูปเปอร์มาร์เก็ต แผนกขายยา แผนกอาหาร แผนกสินค้าเบ็ดเตล็ดที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต) โรงงาน ธุรกิจหลักทรัพย์ ธุรกรรมการเงิน ธนาคาร ตู้เอทีเอ็ม ตลาดและตลาดนัด (ส่วนที่จำหน่ายอาหารสด อาหารแห้ง อาหารปรุงสำเร็จ อาหารสัตว์ เวชภัณฑ์และสินค้าเบ็ดเตล็ดที่จำเป็น) สถานที่จำหน่ายแก๊สหุงต้ม เชื้อเพลิง ปั๊มน้ำมัน ปั๊มแก๊ส การให้บริการขนส่งผู้โดยสารและขนส่งสินค้า รวมทั้งบริการส่งสินค้าและอาหารตามสั่ง (delivery online) รวมถึงหน่วยงานของรัฐ ยังคงเปิดดำเนินการในวันและเวลาราชการตามปกติ เว้นแต่ที่มีประกาศให้ปิดหรืองดดำเนินการไปก่อนแล้ว เช่น สถาบันการศึกษา
13 ประชาชนควรพักหรือทำงานอยู่ที่บ้าน งดหรือชะลอการเดินทางข้ามเขตพื้นที่จังหวัดในกรณีจำเป็นต้องเดินทางข้ามเขตพื้นที่ ต้องรับการตรวจคัดกรองและปฏิบัติตามมาตรการที่ทางราชการกำหนด
14 การจัดกิจกรรม พิธีการทางสังคมตามประเพณีนิยม เช่น พิธีมงคลสมรส พิธีเช่นไหว้บรรพบุรุษ พิธีบำเพ็ญกุศล พิธีศพ พิธีสงกรานต์ และงานพิธีที่ทางราชการ ยังสามารถจัดได้ตามความเหมาะสม แต่ต้องปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโรคตามที่ทางราชการกำหนดในข้อ 11
15 โทษความผิด ผู้ฝ่าผืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อ 1 – 6 แห่งข้อกำหนดนี้ ต้องรับโทษตามมาตรา 18 พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 และอาจมีความผิดตามมาตรา 52 พ.ร.บ.โรคติดต่อ พ.ศ. 2548 หรือมาตรา 41 พ.ร.บ.ว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ พ.ศ. 2542 แล้วแต่กรณี
16 การใช้บังคับข้อกำหนดนี้ให้ใช้บังคับทั่วราชอาณาจักร รวมทั้งพื้นที่ที่อยู่ระหว่างการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรีสามารถออกข้อกำหนดเปลี่ยนแปลง เพิ่มหรือลดมาตรการ/เงื่อนไข หรือเงื่อนเวลาได้โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษาและเผยแพรให้ประชาชนทราบ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2563 เป็นต้นไป
ที่มา: https://www.khaosod.co.th/breaking-news/news_3820024
ตำแหน่ง: เปิดข้อกำหนดฉบับที่1ออกตามความในมาตรา9พรก.บริการราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินพ.ศ.2548
ระดับการศึกษา:
อัตราเงินเดือน: –
อัตราว่าง: 1
ปฏิบัติงานที่: กรุงเทพมหานคร,กระบี่,กาญจนบุรี,กาฬสินธุ์,กำแพงเพชร,ขอนแก่น,จันทบุรี,ฉะเชิงเทรา,ชัยนาท,ชัยภูมิ,ชุมพร,ชลบุรี,เชียงใหม่,เชียงราย,ตรัง,ตราด,ตาก,นครนายก,นครปฐม,นครพนม,นครราชสีมา,นครศรีธรรมราช,นครสวรรค์,นราธิวาส,น่าน,นนทบุรี,บึงกาฬ,บุรีรัมย์,ประจวบคีรีขันธ์,ปทุมธานี,ปราจีนบุรี,ปัตตานี,พะเยา,พระนครศรีอยุธยา,พังงา,พิจิตร,พิษณุโลก,เพชรบุรี,เพชรบูรณ์,แพร่,พัทลุง,ภูเก็ต,มหาสารคาม,มุกดาหาร,แม่ฮ่องสอน,ยโสธร,ยะลา,ร้อยเอ็ด,ระนอง,ระยอง,ราชบุรี,ลพบุรี,ลำปาง,ลำพูน,เลย,ศรีสะเกษ,สกลนคร,สงขลา,สมุทรสาคร,สมุทรปราการ,สมุทรสงคราม,สระแก้ว,สระบุรี,สิงห์บุรี,สุโขทัย,สุพรรณบุรี,สุราษฎร์ธานี,สุรินทร์,สตูล,หนองคาย,หนองบัวลำภู,อำนาจเจริญ,อุดรธานี,อุตรดิตถ์,อุทัยธานี,อุบลราชธานี,อ่างทอง ()
การสอบภาคความรู้ความสามารถทั่วไป (ภาค ก.) ของ ก.พ.:
*
*ไม่ต้องผ่านภาค ก. ก.พ.
*
*
วิธีการสมัครงาน ศูนย์บริหารสถานการณ์การแพ ร่ระบาดโรคติดเชื้อโคโรนา 2019 (COVID19) 2019 (COVID19) :ตนเอง
ผู้ประสงค์จะสมัคร ศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดโรคติดเชื้อโคโรนา 2019 (COVID-19) ตั้งแต่วันที่ 25 มีนาคม 2563 – 14 เมษายน 2563 (ในวันและเวลาราชการ)
ดาวน์โหลดไฟล์ “ศูนย์บริหารสถานการณ์การแพ ร่ระบาดโรคติดเชื้อโคโรนา 2019 (COVID19) 2019 (COVID19)
แผนที่ ประกาศ 1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 5 | 6 | 7 |