อัตราส่วนการบริหารหนี้สิน Debt Management Ratios

การจัดหาเงินทุนด้วยการก่อหนี้ หรือ Financial Leverage นั้นจะมีผลให้สามารถควบคุมกิจการได้โดยไม่ต้องลงทุนเพิ่ม เพิ่ม/ลดความเสี่ยงจากเงินทุนส่วนของเจ้าของลง โดยการเพิ่ม/ลดความเสี่ยงฝั่งเจ้าหนี้ ได้รับส่วนต่างของการทำกำไรที่ให้ผลตอบแทนได้มากกว่าอัตราดอกเบี้ย แต่จะต้องแบกรับความเสี่ยงในภาวะเศรษฐกิจตกต่ำและอาจทำให้ผลตอบแทนที่ได้จากการลงทุนต่ำกว่าอัตราดอกเบี้ยหรือค่าใช้จ่ายจากการก่อหนี้ด้วยเช่นกัน

ในการพิจารณาเกี่ยวกับอัตราส่วนทางการเงินในการบริหารจัดการหนี้สิน จะพิจารณา 3 ประเด็นใหญ่ คือ การจัดหาเงินทุน ความสามารถในการจ่ายชำระดอกเบี้ย และความสามารถในการชำระค่าใช้จ่ายประจำทางการเงิน

อัตราส่วนหนี้สิน
Debt Ratio

ใช้วัดเพื่อดูสัดส่วนการจัดหาเงินทุนจากเจ้าหนี้ หรืออัตราส่วนของหนี้สินทั้งหนี้สินหมุนเวียน และหนี้สินระยะยาว จากสินทรัพย์ทั้งสิ้น จะแสดงความสัมพันธ์ระหว่างหนี้สินกับสินทรัพย์ โดยจะเปรียบเทียบกับค่าเฉลี่ยอุตสาหกรรม

[CP_CALCULATED_FIELDS id=”16″]

ความสามารถในการชำระดอกเบี้ย (TIE)
Ability to Pay Interst (Times – Interest Earned)

แสดงความสามารถในการชำระดอกเบี้ยที่หากมีค่าสูง ความเสี่ยงทางการเงินจะต่ำ เหมาะสำหรับการลงทุนระยะยาว หากเป็นการลงทุนระยะสั้นควรพิจารณาอัตราส่วนในหัวข้อถัดไปเพิ่มเติม

[CP_CALCULATED_FIELDS id=”17″]

ความสามารถในการชำระค่าใช้จา่ยประจำทางการเงิน
Ability to Service Debt : EBITDA Corage Ratio

มีประโยชน์สำหรับการลงทุนระยะสั้น เพราะได้รวมค่าใช้จ่ายทางการเงินคงที่ หรือ all fixed financial charges ในการคำนวณ เพิ่มเติมจากการคำนวณหาอัตราส่วนแบบ TIE ที่จะพิจารณาเฉพาะความสามารถในการจ่ายดอกเบี้ยเท่านั้น ซึ่งควรพิจารณาในเรื่องของค่าใช้จ่ายประจำอื่นๆ นอกจากดอกเบี้ยจา่ยเช่น ค่าเช่าสินทรัพย์ถาวร ที่เป็นค่าใช้จ่ายที่ไม่ปรากฎเป็นหนี้สินในงบดุล และ EBIT ไม่ได้แสดงถึงกระแสเงินสดทั้งสิ้นที่จะนำมาชำระหนี้ได้ โดยเฉพาะกรณีที่ธุรกิจมีการคิดค่าเสื่อมราคาสูงหรือมีรายจ่ายตัดบัญชี (amortization charges) ด้วย

[CP_CALCULATED_FIELDS id=”18″]
Scroll to Top