Payback Period ระยะเวลาคืนทุน

Payback Period
ระยะเวลาคืนทุน

เพื่อหาระยะเวลาคืนทุนตามชื่อ ใช้ประกอบการพิจารณาการลงทุน โดยอาจจะใช้ควบคุมกับเครื่องมือคำนวณทางการเงินชนิดอื่นๆ ด้วย เช่น NPV IRR (รายละเอียดคลิกที่นี่) Payback Period เป็นการหาระยะเวลาที่ได้รับผลตอบแทนในรูปของกระแสเงินสดเข้าเท่ากับกระแสเงินสดจ่ายลงทุน โดยไม่คำนึงถึงเรื่องมูลค่าของเงินตามระยะเวลาเข้ามาเกี่ยวข้อง การคำนวณหาระยะเวลาคืนทุนจึงมองที่กระแสเงินสดรับ ไม่ใช่ตัวกำไรหรือขาดทุนของกิจการ โดย ณ จุดได้ที่ผลสะสมของกระแสเงินสดรับเท่ากับเงินลงทุนในครั้งแรกก็จะได้ระยะเวลาคืนทุนนั้นเอง ลองดูข้อดี และข้อเสีย ของวิธีระยะเวลาคืนทุน

ข้อดี ข้อเสีย
  1. คำนวณได้ง่าย ไม่ยุ่งยากซับซ้อน
  2.  ทำให้ทราบสภาพคล่องของโครงการโดยโครงการที่คืนทุนเร็ว ย่อมมีสภาพคล่องสูงกว่า
  3. เป็นตัววัดความเสี่ยงของโครงการได้ โดยโครงการที่คืนทุนเร็ว ย่อมมีความเสี่ยงน้อยกว่า
  1. ไม่ได้คำนึงถึงกระแสเงินสดภายหลังจากการคืนทุนแล้ว
  2. ไม่ได้คำนึงถึงค่าของเงินในระยะเวลาที่ต่างกันว่ามีค่าไม่เท่ากัน
  3. ไม่คำนึงถึงความสี่ยงของกระแสเงินสดที่จะได้รับในอนาคต
  4. ไม่มีเกณฑ์การตัดสินใจที่บ่งชี้ให้เห็นว่าการลงทุนนั้น ๆ มีส่วนเพิ่มมูลค่าของกิจการอย่าไร

การคำนวณหา Payback Period มีวิธีคำนวณ 2 กรณี

1. กรณีเงินสดสุทธิ (NCF) เท่ากันทุกปี สามารถนำเงินลงทุนครั้งแรกหารกับกระแสเงินสดสุทธิที่ได้รับต่อปีได้เลย

[CP_CALCULATED_FIELDS id=”22″]

2. กรณีเงินสดสุทธิ (NFC)ในแต่ละปีไม่เท่ากันจะต้องนำมาหักออกจากเงินลงทุนในแต่ละปีจนกว่ากระแสเงินสดรับจะเท่ากับกระแสเงินสดจ่ายหรือเงินลงทุน หากเกินจากเงินลงทุนต้องนำยอดเงินลงทุนที่ยังติดลบในปีก่อนมาหารกับกระแสเงินสดรับในปีถัดไปแล้วบวกด้วยจำนวนปีโดยไม่รวมปีสุดท้ายที่กระแสเงินสดรับเข้าและทำให้ยอดของเงินลงทุนกลับเป็นบวก อธิบายเช่นนี้ฟังดูยุ่งยาก ลองคำนวณง่ายๆ โดยการใส่ข้อมูลในช่องด้านล่าง อาจจะเห็นภาพการคำนวณที่ชัดเจนขึ้น

Scroll to Top